เอ๊ะ ทำไมยิ่งหิว (More hunger) การเผาผลาญไขมันถึงทำได้น้อยลงล่ะ

จากผลงานวิจัยของ แฟรงก์ เชียร์ (Frank Scheer) – ผู้อำนวยการโครงการนาฬิกาชีวภาพ แผนกโรคการนอนหลับ โรงพยาบาลบริคแฮม (Brigham Hospital) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยผลงานวิจัย โดยระบุว่า “ผู้ที่มีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารผิดเวลา โดยเฉพาะอาหารมื้อเย็นหรือมื้อค่ำ ของใครหลายๆ คน ก็มักจะกลายเป็นอาหารมื้อดึก ที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเข้านอนกันไปแล้ว แต่
กลุ่มคนเหล่านี้ มักจะทานอาหารมื้อดึกอยู่เป็นกิจวัตรประจำวัน ชนิดที่เรียกได้ว่า ความหิว ความโหย หลั่งไหลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทวีคูณ และพร้อมที่จะสรรหา อาหารจำพวกแป้ง, อาหารที่มีรสเค็มรวมทั้งอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ มารับประทานกัน
แบบจุกๆไปเลยค่ะ

การรับประทานอาหารมื้อดึกขนาดนี้ ก็ใกล้เวลาที่หัวจะถึงหมอนเข้าไปเต็มที
ดังนั้นในเรื่องของการได้ออกกำลังกาย รวมทั้งการได้ใช้พลังงานในการทำ
กิจกรรมต่างๆ เพื่อที่จะได้เบิร์นไขมัน จึงดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ห่างไกลจาก
ความเป็นจริงเต็มทีค่ะคุณผู้อ่าน มันจึงเป็นที่มาของการสะสมไขมันใน
ร่างกาย ถ้ายิ่งมากความอ้วน ความไม่ฟิต ความไม่เฟิร์ม ก็พร้อมที่จะวิ่งกรู
กันเข้ามา ชนิดที่เรียกว่า ปิดล็อคประตูกันไม่ทัน กันเลยทีเดียวค่ะ
ซึ่งก็จะตรงกันข้ามกับกลุ่มบุคคลที่นิยมรับประทานอาหารตรงเวลา ก็มักจะ
นิยมบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ต่อสุขภาพ อาทิเช่น อาหาร
จำพวกนม (Dairy foods) และผัก (vegetables) เป็นต้น อีกทั้งยังมีเวลา
แบบสบายๆ ชิวๆ ให้ได้ใช้พลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างวัน
ไขมันก็จะถูกเบิร์นออกไป ก็จะเป็นไปตามจังหวะของนาฬิกาชีวภาพ
(Circadian Rhythms) หรือนาฬิกาชีวิต (Body Clock)” นั่นเองค่ะ

“และจากการศึกษาผลการตรวจเลือด (Blood tests) ของผู้เข้าร่วมโครงการ (Participants) ที่นิยมบริโภคอาหารผิดเวลา โดยเฉพาะมื้อดึก เพื่อพิจารณา
หาข้อบ่งชี้ (Indication) การทำงานของอวัยะต่างๆภายในร่างกาย เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล นักวิจัย (Researchers) พบว่าระดับ (Level of) ฮอร์โมนเลปติน (Hormone Leptin) หรือฮอร์โมนความอิ่ม (Full)
นั้นมันลดลง (Decrease) ในกลุ่มที่นิยมบริโภคมื้อดึก (Late eaters) เมื่อ
เทียบกับ (Versus) กลุ่มที่นิยมบริโภคอาหารตรงเวลา (Early eaters)
นอกจากนี้ ในกลุ่มของผู้ที่นิยมรับประทานอาหารมื้อดึกจะมีระดับฮอร์โมน
เกรลิน (Hormone Ghrelin) หรือ ฮอร์โมนความอยากทานอาหาร (Appetite)
ขึ้นสูง (Rose) หรือคิดเป็นอัตราส่วนของฮอร์โมนเกรลิน ต่อ ฮอร์โมน
เลปตินเพิ่มขึ้นถึง 34 % (The ratio of ghrelin to leptin rose by 34 %)
เมื่อมีการรับประทานอาหารมื้อดึก” นั่นเองค่ะ

การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการบริโภคอาหารในแต่ละมื้อ โดยเฉพาะ
อาหารมื้อเย็นหรือมื้อค่ำ ไปเป็นมื้อดึก นอกจากจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพแล้ว
ยังเป็นการเพิ่มพูนการสร้างเซลล์ไขมัน (Fat Cells) ในร่างกายให้มีจำนวน
เพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังเป็นการสะสมไขมัน (Fat storage) ที่มากเกิน
ความจำเป็นให้กับร่างกายกันเลยทีเดียวค่ะ
(คุณผู้อ่านล่ะคะ มีความคิดเห็นเป็นประการใดกันบ้างคะ ระหว่างกลุ่มคนที่นิยมรับประทานอาหารตรงเวลา/ Early eaters กับกลุ่มคนที่นิยมรับประทานอาหารมื้อดึก/ Late eaters ตัวเราเองเท่านั้นค่ะ ที่จะเป็นผู้สร้าง และกำหนดทิศทางสุขภาพให้กับตัวเราเองว่า อยากจะเป็นคนที่มีสุขภาพดีมาก/Excellent, ดีปานกลาง/Good หรือ ดีน้อย/ Fair จริงมั๊ยล่ะค่ะ คุณผู้อ่าน)
แหล่งที่มา edition.cnn.com