สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ที่แผ่ขยายกินอาณาบริเวณไปทั่วทุกมุมโลก ส่งผลให้พฤติกรรมในการเลือกบริโภคอาหารและเครื่องดื่มของประชากรโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน ทันที และที่สำคัญอย่างพร้อมเพรียงกันโดยไม่ต้องนัดหมาย นับจากปีนี้ คศ.นี้ไปจนถึงปี คศ. 2030 กันเลยทีเดียว (เทรนด์นี้มาแรง สัญชาตญาณบอก….จัดไปค่ะ)
โดยเฉพาะตลอดช่วงปีที่ผ่านมา (คศ.2020) ได้เกิดเรื่องราวต่างๆ มากมายที่ทำให้ประชากรโลก เกิดความหวาดกลัว, หวาดระแวง และจิตตกกันไป โดยเราๆ ท่านๆ ก็อาจจะมีได้ยินหรือบ่นพึมพำกับตัวเองบ้าง ไม่ว่าจะเป็นประโยคท็อปฮิตอาทิเช่น “ฉันติดโควิดหรือยังเนี่ย” และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัส
โควิด-19 ก็ได้ทำให้นานาประเทศทั่วโลก ต่างก็มีการออกมาตรการป้องกันและสกัดกั้นการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 ที่เข้มงวดต่างๆ มาบังคับใช้กับประชากรในประเทศของตนเองอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม โดยให้มีการเว้นระยะห่างกันอย่างน้อยที่ 1- 2 เมตร, สวมใส่แมสก์ตลอดเวลาที่อยู่ในที่สาธารณะ, สถานที่ชุมชน และสถานที่ปิด, สั่งปิดสถานประกอบการ, ห้างสรรพสินค้า, สนามกีฬา, โรงเรียน, มหาวิทยาลัย ที่คาดว่าจะมีการรวมตัวกันของคนหมู่มาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดไปมากกว่าที่เป็นอยู่ ส่งผลให้เศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศต้องประสบกับปัญหาการหยุดชะงักแบบฉับพลันทันทีเป็นระยะเวลายาวนาน แน่นอนล่ะว่าประชากรต้องใช้เวลาอยู่กับบ้านเป็นเวลานานหลายเดือน รายได้จากที่เคยได้รับเป็นกอบเป็นกำ ก็มีอันต้องหดหายกันไป ส่งผลให้ประชากรได้ใช้เวลาอยู่กับตัวเองมากยิ่งขึ้น หาความรู้จากเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจผ่านทางอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำอาหาร, การหาความรู้ใหม่ๆ มาเสริมสร้างทักษะให้กับตนเองให้มีความเชี่ยวชาญกันไป และใครจะไปรู้ได้ว่า ทักษะต่างๆ เหล่านี้ ก็อาจจะสร้างรายได้ให้กับคุณได้อย่างมหาศาลหลังจากที่โรคระบาดไวรัสโควิด-19 ซาๆ ไปก็เป็นได้ค่ะ

ประชากรโลกได้กลายเป็นผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กันเป็นจำนวนมากกว่า 250 ล้านคน และในจำนวนนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดดังกล่าวเป็นจำนวนมากกว่า5 ล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งถือเป็นการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้นค่ะ นอกจากนี้ โรคระบาดไวรัสโควิด-19 ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อกิจการ ห้างร้าน บริษัทต่างๆ มากมายที่มีอันต้องปลด ลดจำนวนพนักงาน ลดจำนวนชั่วโมงการทำงานเพื่อประคองกิจการในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศมีอันต้องหยุดชะงัก การว่างงานของผู้คนจำนวนมากจากสถานการณ์ที่ได้กล่าวมานี้ ทำให้รัฐบาลในนานาประเทศต้องหันกลับมาพิจารณาและให้การดูแลประชากรของประเทศ รวมทั้งการให้ความคุ้มครองในสวัสดิภาพแรงงานกันอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น

จากเหตการณ์ต่างๆ ทำให้เกิดการถามหาจริยธรรมในสถานประกอบการต่างๆ ที่ผู้คนในสังคมต่างก็ให้ความสนใจและจับตามองกันเป็นอย่างมาก (มากกว่าก่อนที่จะมีการเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด-19 เสียอีก) ว่าเป็นสถานประกอบการที่ควรให้การสนับสนุนเลือกซื้อสินค้ากันหรือไม่ค่ะ
ประชากรต่างหันมานิยมบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีประโยชน์ต่อร่างกายกันแบบสุดๆ ค่ะ อาทิเช่น พืช, ผัก, ผลไม้ และธัญญพืชต่างๆ ที่สามารถเพาะปลูกและเลือกซื้อเลือกหากันได้ภายในท้องถิ่นนั่นเองค่ะ

องค์กรใหญ่ๆ ต่างตระหนักและให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการที่จะมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมและการรักษาสภาพของสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ตราบนานเท่านานกันเลยทีเดียวค่ะ ดังนั้นองค์กรก็จะดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการบริหารการจัดการที่ดี โดยให้ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนค่ะ ที่กล่าวมานี้ ก็จะเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Corporate social responsibility” โดยมีตัวย่อว่า CSR ค่ะ คุณผู้อ่านก็คงจะคุ้นๆ คำนี้กันมาบ้างไม่มากก็น้อยใช่มั๊ยล่ะค่ะ
ตอนนี้ทั่วโลกต่างก็มีการรณรงค์ “ลดการใช้ถุงพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง โดยให้ใช้ถุงผ้าไว้ใส่ของแทน” โดยทำกันอย่างจริงจัง เพื่อช่วยกันลดขยะในระบบนิเวศน์ รวมทั้งลดการสร้างมลพิษทั้งในดิน, ในแหล่งน้ำ และบนอากาศ เป็นต้นค่ะ

นอกจากนี้ข้อความที่จะมีการสื่อสารจากองค์กรใหญ่ๆ ออกไปสู่สายตาของสาธารณชนนั้น ก็จะมีการเน้นในเรื่องของ 1). ความปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สิน และ 2). การมีสุขภาพ และพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ห่างไกลจาก
เชื้อโรคระบาด (ทำนองนี้ค่ะ อะไรดีๆ เพื่อสร้างให้สังคมโดยรวมน่าอยู่ ก็ทำกัน
ไปค่ะ)

โรคระบาดอุบัติใหม่อย่างโรคไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีนี้ ส่งผ่านแรงผลักดันให้ผู้คนบนโลกใบนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยกันแบบฉับพลันทันที คือ มีสติในการใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากยิ่งขึ้น ซื้อเพราะตอบโจทย์การใช้งาน, ซื้อเพราะราคาเอื้ออำนวยต่อการตัดสินใจ, ไม่พิรี้พิไรในการซื้อสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่มีมากเกินความจำเป็นต่อการบริโภค อุปโภคนั่นเองค่ะ โดยเฉพาะผู้คนจะให้การสนับสนุนเลือกซื้อสินค้ากับผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดสภาวะโลกร้อน ลดมลพิษต่างๆ แต่ก็ยังมีอุปสรรคกันอยู่บ้างก็เนื่องจากว่า สินค้า หรือผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมักจะมีสนนราคาค่อนข้างสูงกว่า แบรนด์ทั่วๆไปนั่นเองค่ะ

ผู้บริโภคจากทั่วทุกมุมโลกต่างก็นำแนวคิดที่ว่า “ น้อย แต่ ดีกว่า” / “ less but better” มาเป็นหลักในการพิจารณารูปแบบของการบริโภค (eating patterns)
ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 กันอย่างหนัก (คิดดี ทำดี ก็เลิศค่ะ) สืบเนื่องจากในช่วงที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนักหน่วงของโรคไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนเนื้อสัตว์ในการบริโภคของประชากรโลก เนื่องจากคนงานในโรงงานผลิตเนื้อสัตว์แปรรูป มีคนงานกลายเป็นผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีผู้ที่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อก่อนหน้า ทำให้ต้องถูกกักตัวด้วย 14 วัน บางโรงงานถูกสั่งปิดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เนื้อสัตว์ที่มีเหลือส่งขายน้อยลง ส่งผลให้เนื้อสัตว์มีราคาสูงขึ้นทันที และเมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงมีความคิดที่ว่า ถึงเวลาที่เราจะช่วยกันรักษาความสมดุลย์ของระบบนิเวศน์กันอย่างจริงจัง โดยการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้เหลือน้อยลง หรือเลิกบริโภคกันไปเลย โดยเปลี่ยนมาเลือกรับประทานโปรตีนจากพืชเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกันอีกด้วย แบบประมาณว่า ได้กินอิ่ม อร่อย และยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดสภาวะโลกร้อนกันด้วยค่ะ เห็นมั๊ยล่ะคะว่า การบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลง โดยหันมานิยมบริโภคโปรตีนจากพืชกันให้มากขึ้น ได้สุขภาพที่ดีขึ้น ดีกว่าเดิม กันเลยทีเดียวค่ะ
แหล่งที่มา edition.cnn.com