ภาพรวมของตลาด (Market Overview) :
ในปี คศ. 2021 ตลาดหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมอาหารโลก (The Global food robotics market) นั้นได้สร้างสถิติเติบโตแบบก้าวทะยาน (Soar) ไปถึงดวงดาวเลยก็ว่าได้ค่ะคุณผู้อ่าน โดยสามารถทำมูลค่าสูงแตะระดับ 1.9
พันล้านดอลลาร์สหรัฐ กันแบบชิวๆ นั่นเองค่ะ โดยบริษัทวิจัยด้านการตลาด
ชั้นนำระดับโลกอย่าง IMARC Group ได้ทำการคาดการณ์ตลาดหุ่นยนต์ใน
อุตสาหกรรมอาหารโลกจะสามารถสร้างมูลค่าได้อย่างมหาศาลที่ 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในปี คศ.2027 โดยจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี
(A CAGR of ) ในช่วงปี คศ. 2022-2027 อยู่ที่ 12.27% – จัดไปค่ะ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มก่อตัวขึ้นในช่วง
เดือนพฤศจิกายน ปี คศ. 2019 ในประเทศจีน และได้แผ่ขยายเป็นวงกว้าง
ไปยังนานาประเทศทั่วโลก ถือเป็นตัวแปรสำคัญ (Contributor) ที่ทำให้
ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหารของนานาประเทศทั่วโลกต่างต้อง
หันมาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่าง
มีกำไร, ใส่ใจในเรื่องของสุขอนามัยในการผลิต, ความรวดเร็วและโปรงใส่
ในทุกขั้นตอนของการทำธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำกันเลย
ทีเดียวค่ะคุณผู้อ่าน ทั้งนี้ก็เพื่อตอบโจทย์ ในเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภค
ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง หรือเกือบจะสิ้นเชิงก็ว่าได้ค่ะ
จึงเป็นที่มาของบริษัทที่มีความรู้ ความสามารถในการค้นคว้า วิจัย และประดิษฐ์หุ่นยนต์ ได้ผุดไอเดียในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ เพื่อนำมาใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารของโลกกันอย่างจริงจัง และหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมอาหารโลกก็สามารถ
แจ้งเกิด (Popular) กันแบบฉับพลัน (Sudden changes) ชนิดที่เรียกว่า
โตวันโตคืน (Boom/ Flourish) กันเลยทีเดียวค่ะ
หุ่นยนต์ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร นั้นก็สามารถจำแนกหน้าที่
ปฎิบัติงานในไลน์การผลิตกันได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และแม่นยำค่ะ
ไม่ว่าจะในเรื่องของการบรรจุสินค้าลงในบรรจุภัณฑ์, การแยกประเภท (Sort)
วัตถุดิบ (Raw material) ที่ใช้ในการผลิต, การติดฉลากให้กับบรรจุภัณฑ์
(Labeling packages) และการที่โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหารได้มี

การนำหุ่นยนต์มาใช้ในไลน์การผลิตนั้นสามารถช่วยงานที่ต้องทำซ้ำๆ
(Repetitive production tasks) เป็นเวลานานหลายชั่วโมงติดต่อกันจน
เสร็จสิ้นการปฎิบัติงานในแต่ละวัน ในขณะเดียวกันหุ่นยนต์นั้นสามารถ
ปฎิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและไม่มีอาการเหนื่อยล้าจากการทำงานค่ะ
ทำให้งานในไลน์การผลิตสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง แม้ในวันที่
สภาพอากาศจะร้อน ( High temperatures) สักเพียงใดก็ตามค่ะ
ส่วนข้อดีอื่นๆ ก็มีให้เห็นเด่นชัด (Outstanding) ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความปลอดภัย (Safety), ความสะอาด (Cleanliness), การประหยัดพื้นที่ในไลน์การผลิต (Save space), ประหยัดเวลา (Save time), และยังช่วยลดต้นทุนในการผลิต (Lower production costs) กันอีกด้วยค่ะ

ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม ผู้ประกอบการผลิตรายใหญ่ (Leading Players)ในแวดวงอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลก จึงได้เลือกที่จะนำเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย, หุ่นยนต์ที่ใช้ในไลน์การผลิตอาหารและเครื่องดื่มมาช่วยงานในการผลิต ผลิตภัณฑ์/ สินค้าที่ต้องผลิตในปริมาณมากๆ ได้อย่าง
รวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ นั่นเองค่ะ
ทิศทางการเจริญเติบโตของตลาดหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมอาหารโลก :
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!
เนื่องจากยังมีปัจจัยหลัก (Significant factors) ที่ส่งเสริมและผลักดันให้ตลาดหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมอาหารโลกนั้นยังมีทิศทางที่สดใส และสามารถเติบโต(Growth) ได้แบบพุ่งทะยาน (Soar) ได้อีกนั้น ก็คือ การขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ (The lack of skilled labor) และ ค่าแรงที่มีแต่จะขยับตัวสูงขึ้น (High- cost labor) ในนานาประเทศทั่วโลก (Across the globe)
อีกทั้งในปัจจุบันเป็นยุคที่มีการเก็บข้อมูลข่าวสารมากมายที่ใช้ในการดำเนินกิจการ
จึงเข้าสู่ยุคที่มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า AI) มาช่วยในการคิด และการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ อย่างชาญฉลาดเลียนแบบสมองมนุษย์ โดยที่ AI สามารถที่จะประมวลผลข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ได้ และมีการคิดอย่างมีเหตุผล นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยของหุ่นยนต์ (Robotic technology) มาช่วยงานในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มกันมากยิ่งขึ้นกันอีกด้วยค่ะคุณผู้อ่าน
แหล่งที่มา www.imarcgroup.com