สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบเข้าอย่างจัง ต่อภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม จนต้องมีการปรับตัวกันจ้าละหวั่น ก็เพื่อเพิ่มโอกาสทางรอดให้กับธุรกิจ เอแต่ทว่า จะมีอะไรกันบ้างน้า
เทรนด์ที่ได้รับความนิยม และสร้างกระแสตอบรับที่ดี ก็มีดังต่อไปนี้ค่ะ :
1). การปิดหน้าร้าน (The shutting down of physical stores)
ไม่ว่า ร้านค้าจะถูกสั่งให้ดำเนินการปิดร้าน ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาดไวรัสโควิด-19 หรือไม่ก็ตาม บริษัทที่ประกอบกิจการด้านอาหารและเครื่องดื่มเป็นจำนวนมาก ก็ได้ตัดสินใจสั่งปิดร้านค้าไปเป็นจำนวนมาก หรือไม่ก็อาจจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการมาเป็น บริการจัดส่งอาหารให้กับลูกค้า ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางรอดให้กับธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มนั่นเองค่ะ

2). ประชาชนหันมานิยมบริโภคอาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูปกันมากยิ่งขึ้น
(Increase in demand for packaged foods and beverages).
โดยเฉพาะในช่วงที่ประชาชนของประเทศมีการติดเชื้อโรคระบาดไวรัสโควิด-19
กันเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ต่างก็หันมาใช้มาตรการคุมเข้มต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคระบาดขยายตัวไปมากกว่า
ที่เป็นอยู่ค่ะ โดยภาครัฐได้ขอความร่วมมือไปยังองค์กร, บริษัท และห้างร้านต่างๆ ให้พนักงานที่มีลักษณะงาน ที่สามารถปฎิบัติงานจากที่บ้านได้ ก็ให้ทำงานจากที่บ้าน (Work from home) แทนการมาปฎิบัติงานยังสำนักงาน เพื่อลดความเสี่ยงทั้งจากการรับเชื้อ และการส่งต่อเชื้อโรคระบาดดังกล่าว นอกจากนี้ผู้คนส่วนใหญ่ยังได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มกันอีกด้วย โดยการหันมานิยมเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่มประเภทสำเร็จรูปกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ไม่เน่าเปื่อยง่าย หรืออาจเป็นอาหารแช่แข็ง รวมทั้งอาหารปรุงสำเร็จที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์เป็นต้นค่ะ

3). การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ( Supply chain disruption)
สาเหตุที่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานมีอันต้องหยุดชะงักไปในช่วงที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนักของโรคระบาดไวรัสโควิด-19 นั่นก็คือ สินค้าหลายรายการนั้นต้องพึ่งพิงจากผู้ขายสินค้าที่มีแหล่งการผลิตจากต่างประเทศ หลังจากที่หลายๆ ประเทศ ได้ออกคำสั่งล็อกดาวน์ ปิดเมือง ปิดประเทศกันอย่างด่วนที่สุดนั้น ก็ได้ทำให้สินค้าต่างๆ เหล่านั้น ไม่สามารถทำการจัดส่งได้ สินค้าที่มีเหลืออยู่ภายในประเทศก็เริ่มร่อยหรอกันแบบหมดแล้วหมดเลย หรือแม้แต่เนื้อสัตว์จากโรงงานการแปรรูปเนื้อสัตว์ ที่มีพนักงานในไลน์การผลิตได้กลายเป็นผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จนทำให้โรงงานถูกสั่งปิดทันทีเป็นระยะเวลา 2 – 3 สัปดาห์ ก็ส่งผลให้เนื้อสัตว์ขาดตลาด มันกระทบกันเป็นทอดๆ กันเลยทีเดียวค่ะ ภัตตาคาร, ร้านอาหาร หรือแม้แต่ซูเปอร์มาร์เก็ต ต่างก็หันมาติดต่อซื้อขายกับ ผู้ขายสินค้าภายในประเทศกันมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ห่วงโซ่อุปทานสามารถเดินหน้าต่อได้ หรือให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดนั่นเองค่ะ

4). เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลก โดยพร้อมเพรียงกันแบบฉับพลันทันที (Shift in consumer behavior)
ผู้บริโภคทั่วโลก ต่างก็หันมาตระหนักและให้ความระมัดระวังในเรื่องของสุขอนามัยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ ที่มีการสัมผัสสิ่งต่างๆ , ในสถานที่ทำงาน หรือในที่สาธารณะ, มีการสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่นอกเคหะสถาน, มีการรักษาระยะห่างทางสังคมอย่างยิ่งยวด นอกจากนี้ ผู้บริโภคทั่วโลกก็จะมีความวิตกกังวลต่อเรื่องความสะอาดของอาหาร และเครื่องดื่มที่ซื้อ ดังนั้นจึงหันมานิยมในการเลือกซื้ออาหารและ เครื่องดื่มที่สำเร็จรูปกันมากขึ้น อย่างชนิด
ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ในช่วงก่อนที่จะมีโรคระบาดไวรัสโควิด-19 อุบัติขึ้นค่ะ

5). ลดการสัมผัสเงินสดในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Cashless and contactless payment and services) บริษัทที่ดำเนินกิจการด้านการขายอาหารและเครื่องดื่ม ต่างก็ให้ความใส่ใจในเรื่องการจะขายอาหารและเครื่องดื่มอย่างไร ที่จะลดการสัมผัสเงินสดทั้งจากผู้ขายและผู้ซื้อให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการสัมผัสเงินสดนั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการส่ง ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ แทนการส่งใบเสร็จที่เป็นกระดาษที่ต้องผ่านการสัมผัสค่ะ รวมทั้งได้มีการสนับสนุนให้มีการชำระค่าอาหารและเครื่องดื่ม ผ่านทาง Mobile banking ของธนาคารต่างๆ ค่ะ หรือแม้แต่มีการใช้หน้าจอที่เป็นระบบดิจิทัลในการเลือกเมนูอาหารและเครื่องดื่มของทางร้าน เป็นต้น เพื่อลดการสัมผัสเมนูอาหารที่เป็นกระดาษแข็ง หรือเป็นเล่ม เพื่อลดการสัมผัสจากลูกค้าคนแล้วคนเล่านั่นเองค่ะ

6). มาตรการความปลอดภัยต่อการรับ และแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 โดยการใช้แผ่นกระจกทนความร้อนทำด้วยโพลิเมอร์ที่มีความทนทานกว่ากระจกธรรมดา (Plexiglass) มากั้นกลางระหว่างกัน (New and improved safety measures)
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ก็ได้มีการนำแผ่นกระจกทนความร้อนที่ทำด้วยโพลิเมอร์มาใช้กั้น ณ จุดชำระเงิน, มีการนำพาร์ติชั่น /ฉากกั้น (Partitions) มากั้นระหว่างโต๊ะที่นั่งรับประทานอาหาร รวมทั้งมีการจำกัดจำนวนลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการภายในร้านอาหารอย่างเข้มงวดกันอีกด้วยค่ะ นอกจากนี้แล้ว ทางร้านค้าจะต้องมีเครื่องวัดอุณหภูมิตั้งอยู่ทางเข้าร้าน พร้อมกับเจลแอลกอฮอล์ ไว้พร้อมบริการลูกค้า ในขณะเดียวกันทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยก่อนการเข้าไปใช้บริการนั่นเองค่ะ

7). ผู้บริโภคหันมานิยมเลือกซื้อพืช ผัก ผลไม้ ธัญญพืช ที่เพาะปลูกภายในประเทศมากยิ่งขึ้น (Increase in demand for local food)
เนื่องจากผู้บริโภคได้หันมาใส่ใจในแหล่งที่มาของอาหารเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคกันอย่างจริงจังยิ่งขึ้น หลังจากที่ต้องเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดไวรัสโควิด-19 เป็นระยะเวลาเนิ่นนานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจวบจนปัจจุบัน

8).ยุคทองของการสั่งซื้ออาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ (The age of online delivery)
ธุรกิจต่างๆ ที่ไม่มีการให้บริการนอกสถานที่ ต่างก็หันมาเพิ่มบริการให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อทางออนไลน์ พร้อมมีบริการจัดส่งให้เพื่อให้สามารถขยายฐานลูกค้าให้ครอบคลุมได้ในหลายๆ พื้นที่มากยิ่งขึ้น (จัดไปค่ะ)

แหล่งที่มา www.americanexpress.com