แรงงานในตลาดแรงงานกว่า 207 ล้านคนทั่วโลก กำลังต้องเผชิญ กับชะตากรรมการว่างงานแบบฉับพลัน
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) หรือที่หลายๆ คนมักจะคุ้นหูกับการเรียกชื่อย่อๆ ว่า “ไอแอลโอ” นั่นเองค่ะ ได้ออกมา ระบุว่า จะมีแรงงานในตลาดแรงงานกว่า 207 ล้านคนทั่วโลก ที่กำลังต้องเผชิญ
กับชะตากรรมการว่างงานแบบฉับพลัน และลากยาวกันไป ชนิดที่เรียกได้ว่า ทั้งชีวิตนี้อาจจะยังไม่เคยเห็นกันมาก่อนเลยก็ว่าได้ค่ะ เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าที่
จะมีการแพร่ระบาดของ โรคระบาดอุบัติใหม่อย่าง โรคไวรัสโควิด-19 นั่นเองค่ะ

ตลาดแรงงานทั่วโลก คงต้องใช้เวลายาวนานอีกหลายปี กว่าที่ตลาดแรงงานในระบบจะกลับมาฟื้นตัวกันอีกครั้ง สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้นานาประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ตลาดแรงงานหด, ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงัก, ชะลอตัว หรือบางประเทศต้องมานั่งนับหนึ่งใหม่ ก็เกิดมาจากปัจจัยภายนอกอย่างโรคระบาดไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า และ สายพันธุ์โอมิครอน ที่ได้ทำให้โลกกลมๆ ใบนี้มีอันต้องหมุนแบบเปลี่ยนทิศ เปลี่ยนทางกันไป จนทำให้ประชากรโลก มีอันต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ไปตามๆ กัน

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ได้ลดระดับการคาดการณ์ จากเดิมที่เคยได้มีการคาดการณ์ไว้เกี่ยวกับเรื่อง การฟื้นตัวของตลาดแรงงานทั่วโลกในปี คศ.2022
ก็เนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ไปยังนานาประเทศทั่วโลกนั้นทำเศรษฐกิจทั่วโลกดิ่งหนักกว่าที่เคยได้ประเมินสถานการณ์จนทำให้ประชากรโลกจำนวนมากมีอันต้องกลายเป็นผู้ว่างงาน หรือบางรายถูกลดจำนวนชั่วโมงการทำงานทั้งๆ ที่เป็นบุคลากรในตลาดแรงงานที่มีศักยภาพ มีความสามารถ และพร้อมที่จะปฎิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพกันเลยทีเดียว (หรือคิดเป็นชั่วโมงการทำงานที่หายไปจากระบบทั่วโลกกว่า 52 ล้านตำแหน่งงานที่ทำงานแบบเต็มเวลา เมื่อเทียบกับในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี คศ. 2019 นั่นเองค่ะ)

นอกจากนี้ ทาง ไอแอลโอ ยังคาดการณ์ด้วยว่า อัตราการว่างงานของประชากรโลกจำนวนมากมายมหาศาลนี้ จะสูงกว่าในช่วงก่อนที่จะมีการเกิดโรคระบาด
อุบัติใหม่ อย่างโรคไวรัสโควิด-19 และจะลากยาวไปอีกหลายปีอย่างแน่นอน โดยในปี คศ. 2022 นี้ ประชากรโลกจะว่างงานสูงถึง 207 ล้านคน เมื่อเทียบกับอัตราการการว่างงานของประชากรโลกในปี คศ. 2019 ที่แตะระดับอยู่ที่ 186 ล้านคนเท่านั้นค่ะ

วิกฤตการณ์การว่างงานของประชากรโลกไม่ว่าจะเกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือในประเทศที่กำลังพัฒนา ก็จะมีความแตกต่างกันไปตามภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับแรงกระทบอย่างหนักจากโรคระบาดไวรัสโควิด-19 จนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจดิ่งหนักในหลายภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการบินและการขนส่ง, ภาคการท่องเที่ยว, โรงแรม, ร้านอาหาร เป็นต้น ภาคอุตสาหกรรมที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลัง
พัฒนา ก็มีอันต้องสะดุด และซวนเซไปตามๆ กันนั่นเอง ค่ะ

การฟื้นตัวของตลาดแรงงานโลก ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 จะเป็นจริงได้ ก็ต่อเมื่อ ตลาดแรงงานของนานาประเทศทั่วโลกต่างก็มีการฟื้นตัวไปพร้อมๆ กันและต้องให้ได้อย่างยั่งยืนด้วยนะคะ การจ้างงานในตลาดแรงงานต้องจูงมือกันมาเป็นแพ็คเก็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมั่นคงและความปลอดภัยจากการทำงาน, สุขภาพสร้างได้จากสถานที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมสีเขียวในสถานประกอบการ, ความเข้มแข็งด้านสาธารณสุขของประเทศ รวมทั้งการมีสังคมการทำงานที่ดี เป็นต้นค่ะ
แหล่งที่มา www.theepochtimes.com