ความสุข และการมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ กับ 9 อุปนิสัย ที่คุณเองก็สร้างได้
มนุษย์เรา นอกจากจะมีความปรารถนาที่จะประสบความสำเร็จในอาชีพหน้าที่
การงาน(Career) แล้ว ในเรื่องของอาหารการกินก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันค่ะ โดยผู้คนส่วนใหญ่จะนิยมเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมา
เพื่อการบริโภคในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันใน
ครอบครัว ในที่ทำงาน และในที่ชุมชนที่รายล้อมอยู่รอบๆ ตัวเราค่ะ

แต่สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะไม่สามารถเป็นจริงได้เลย หากมนุษย์เราไม่มีสุขภาพ
ร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ และพร้อมจะขับเคลื่อนมันไปด้วยกันนั่นเองค่ะ
(We most desire requires a healthy foundation)

ดร. ลีอาน่า เหวิน ( Dr.Leana Wen)- แพทย์ฉุกเฉิน และศาสตราจารย์ด้านนโยบายและการจัดการด้านสุขภาพ ( an emergency physician and professor of health
Policy and management) ของมหาวิทยาลัย จอร์จ วอชิงตัน (George Washington University) ได้กล่าวไว้ว่า “การเริ่มลงมือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด (proactive) ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอนั้น
จะช่วยทำให้คุณเป็นคนที่มีอายุยืนยาว (Longevity) และมีคุณภาพชีวิต (Quality) ที่ดียิ่งขึ้นอย่างแน่นอน ”
ตามมาส่องกันดีกว่าค่ะ คุณผู้อ่าน ว่า อุปนิสัย 9 อย่างที่จะทำให้เรามีอายุที่ยืนยาวอย่างมีความสุขนั้น เค้ามีอะไรกันบ้างน้า :
1). การตรวจสุขภาพประจำปี ทุกปี (Annual checkups)
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!
ทั้งนี้ ดร. ลีอาน่า ยังได้กล่าวเสริมด้วยว่า “ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเข้าพบคุณหมอ (the best time to see your physician) นั้น ไม่ใช่ช่วงเวลาที่คุณค้นพบความผิดปกติของร่างกาย (is not when your already have symptoms) และต้องการเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา (need help) แต่ควรเป็นช่วงเวลาที่ยังไม่เกิดโรคภัยไข้เจ็บ อาทิเช่นเหล่าบรรดาพวกโรคเรื้อรังต่างๆ (Chronic Disease) แต่ให้เป็นการไปพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพ และหารือปรึกษาถึงแนวทางการรักษาหากต้องเกิดโรคดังกล่าว” นั่นเองค่ะ
2). การทำกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ (Consistent physical activity)
มนุษย์เราจะต้องให้ความสำคัญกับการจัดให้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ของร่างกายมีความแข็งแรง สมบูรณ์ รวมทั้งทำให้เกิดการใช้พลังงานเพื่อให้เกิดการเผาผลาญส่วนเกินต่างๆ ให้ออกจากร่างกายนั่นเองค่ะ การทำกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ นั้นสามารถช่วยลดความเสี่ยงภัยที่จะเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ (Chronic Diseases) ค่ะ อาทิเช่นโรคเบาหวาน (Diabetes), โรคอ้วน (Obesity) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันในส่วนต่างๆของร่างกายมากเกินปกติ, โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension), โรคหัวใจ (Heart Disease), และโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นต้นค่ะ
3). ดัชนีมวลกายสามารถบ่งบอกความสมดุลของร่างกาย (Healthy Body Mass Index)
จากงานวิจัยเมื่อปี คศ. 2018 ได้ระบุด้วยว่า การที่มนุษย์เรามีดัชนีมวลกายที่
สมดุลนั้น สามารถช่วยให้มนุษย์เรามีอายุที่ยืนยาวมากขึ้นนับ 10 ปีกันเลยทีเดียวค่ะ
(more than a decade) รวมทั้งสามารถช่วยลดความเสี่ยงภัยที่จะเสียชีวิตจากโรค
หลอดเลือดหัวใจ (Cardiovascular disease) และโรคมะเร็ง (Cancer)
แน่นอนค่ะว่า การเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมาบริโภค รวมทั้งการทำกิจกรรมทางกายนั้น สามารถช่วยให้คุณๆ สามารถลดน้ำหนักส่วนเกิน (Body fat) และไปให้ถึงเป้าหมาย (Goal) การมีสุขภาพร่างกายที่ดีได้ค่ะ
4). การมีโภชนาการที่ดี (Proper Nutrition)

วารสารทางการแพทย์ที่มีชื่อว่า PLOS Medicine ได้มีการเผยแพร่บทความไปเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เกี่ยวกับเรื่องการมีอายุขัยที่ยืนยาว (extend your life span) โดยการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป (processed meats) รวมทั้งเนื้อสัตว์ที่มีสีแดงมากเกินไป (Red meats) โดยให้ผู้บริโภคหันมาเลือกบริโภคผลไม้ (Fruits), ผัก (Vegetables), พืชตระกูลถั่ว (Legumes), ธัญพืชที่ผ่านกระบวนการขัดสีน้อย (Whole grains), ถั่ว (Nut) กล่าวคือเน้นที่การบริโภคอาหารที่ทำจากพืช ผัก ผลไม้ รวมไปถึงธัญพืช และถั่ว หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า
(Plant- based foods) นั่นเองค่ะ เพราะ Plant – based foods นั้นเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ที่ช่วยชะลอความแก่ชราได้ค่ะ
5). ความสำคัญของการมีสุขภาพจิตที่ดี (Pay attention to mental wellness)
วารสารทางการแพทย์ที่มีชื่อว่า PLOS Medicine ได้มีการเผยแพร่บทความไปเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เกี่ยวกับเรื่องการมีอายุขัยที่ยืนยาว (extend your life span) โดยการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป (processed meats) รวมทั้งเนื้อสัตว์ที่มีสีแดงมากเกินไป (Red meats) โดยให้ผู้บริโภคหันมาเลือกบริโภคผลไม้ (Fruits), ผัก (Vegetables), พืชตระกูลถั่ว (Legumes), ธัญพืชที่ผ่านกระบวนการขัดสีน้อย (Whole grains), ถั่ว (Nut) กล่าวคือเน้นที่การบริโภคอาหารที่ทำจากพืช ผัก ผลไม้ รวมไปถึงธัญพืช และถั่ว หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า
(Plant- based foods) นั่นเองค่ะ เพราะ Plant – based foods นั้นเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ที่ช่วยชะลอความแก่ชราได้ค่ะ
6). นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ (Plenty of sleep)

มนุษย์เราจะมีการนอนหลับที่ดีได้ ก็จะต้องมีการออกกำลังกาย (Exercise), มีสุขอนามัยของห้องนอนที่เหมาะสม, การจัดให้ห้องนอนมีความมืด (keep your bedroom dark), มีความเงียบปราศจากเสียงรบกวน (quiet), การใช้ห้องนอนเพื่อสำหรับการนอนหลับพักผ่อนเท่านั้น (only use it for sleep) รวมทั้งควรนอนให้มากกว่า 7 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย หากนอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง (sleep less than
7 hours) ก็จะเกิดกระบวนการสร้างความเครียดภายในร่างกาย รวมทั้งทำให้เกิดโรคความดันโลหิต (Blood pressure) กันได้อีกด้วยค่ะ
7). ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (Drinking less)
เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจนเกินไปนั้น จะส่งผลให้เกิดสารพิษ (Toxin) โดยตรงต่อกล้ามเนื้อของหัวใจ (Heart muscle) และทำให้เกิดโรคหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
(Blood sugar levels) และทำให้มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มกันอีกด้วยค่ะ (Causes weight gain)
8). ไม่สูบบุหรี่ (Not smoking)
ผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคมะเร็งปอด (Lung cancer), โรคหัวใจ (Heart disease), โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และอีกสารพัดโรคกันเลยทีเดียวค่ะ ที่จะทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่นั้นจะมีอายุขัยที่สั้นกว่าที่ควรจะเป็นค่ะ (shorten lives)
9). สร้างสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น (Build strong relationships)

ก็เพราะว่าการมีสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น ไม่ว่าจะกับครอบครัว เพื่อน รวมทั้งคนรู้จักนั้นมันจะนำมาซึ่งความสุขทางใจ และเป็นการลดความเครียดที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต และสุขภาพร่างกายของคุณๆ ได้นั่นเองค่ะ
แหล่งที่มา edition.cnn.com