การแบ่งเวลาหยุดพัก ในระหว่างช่วงเวลาทำงาน แม้เป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก็สามารถช่วยให้ คุณผู้อ่านมีสุขภาวะที่ดีเกินคาด ได้ประโยชน์หลายต่อกันไปเลยค่ะ
ตามมาส่องกันดีกว่าค่ะ ที่ว่าได้ประโยชน์หลายต่อ นั้นมีอะไรกันบ้างน้า:
1). ได้การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2). ลดภาวะสมองเหนื่อยล้า จากการนั่งคิดงานไม่ออกเป็นเวลานานๆ
3). ลดความตึงเครียด ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิต
1). ได้การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2). ลดภาวะสมองเหนื่อยล้า จากการนั่งคิดงานไม่ออกเป็นเวลานานๆ
3). ลดความตึงเครียด ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิต

PLOS ONE – วารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ ได้มีการเผยแพร่ข้อมูล เกี่ยวกับเรื่อง “Microbreaks” ไปเมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยระบุ ว่า “การได้ทานขนมขบเคี้ยว (Eating a snack), การลุกเดินบ้าง (Going for a walk), หรือการได้ติดตามข่าวสารในโซเชียลมีเดีย (Social Media) แม้ใช้เวลา เพียงไม่กี่นาที ในระหว่างเวลาทำงาน นั้นมีส่วนช่วยเติมพลังในการทำงาน (Increase Vigor) และลดความเหนื่อยล้า (Decrease fatigue) จากการทำงาน ได้เป็นอย่างดี” เลยค่ะ คุณผู้อ่าน

ไอรินา แมคซิงก์ (Irina Macsinga) – รองศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยา (Associate Professor in the Psychology department) ของ West University of Timisoara ประเทศโรมาเนีย (Romania) ได้เขียนสรุปงานวิจัยจาก ผลงานวิจัย 22 แหล่ง ที่รวบรวมไว้กว่า 30 ปี เกี่ยวกับเรื่องของ “ Microbreaks” ดังนี้ค่ะ การได้พักในช่วงเวลาสั้นๆ (Short breaks) ในระหว่างช่วงเวลาทำงานของพนักงานนั้น ช่วยให้พนักงานมีสุขภาวะที่ดีเกินคาด (Increase your well- being), มีพลังงานที่จะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ จากการทำงาน (Energy to complete tasks)ได้เป็นอย่างดี โดยไม่รู้สึกเหนื่อยล้า หรือเหน็ดเหนื่อย (Without being exhausted) เมื่อจบวันทำงานค่ะ (By the end of the day)

ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยา (ไอรินา แมคซิงก์) ยังได้แสดงทัศนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “การจะพักในช่วงเวลาสั้นๆ ระหว่างช่วงเวลาทำงานนั้น มันไม่สามารถระบุ ชี้ชัดว่า จะต้องเป็นช่วงเวลาใด หากแต่ ขึ้นอยู่กับความจำเป็น ความรู้สึกของแต่ละบุคคล ณ ขณะใด ขณะหนึ่งว่า ต้องพัก “Microbreaks” ในช่วงเวลาใดเป็นสำคัญ และเมื่อหลังจากได้มีการได้พักในช่วงเวลาสั้นๆ แล้ว ความคิดที่จะคิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ผลงานก็จะไหลลื่น พรั่งพรูแบบไม่มีให้ต้องสะดุด เหมือนกับสมองได้มีการชาร์จพลังงานแบบเต็มสตรีมและพร้อมกลับมาลุยงานกันอีกครั้ง ”นั่นเองค่ะ (คุณผู้อ่าน ล่ะคะ มีความคิดเห็นเป็นประการใดกันบ้างคะ)
แหล่งที่มา edition.cnn.com