พฤติกรรมการนอนดึก ตื่นสาย หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า
“Night Owls” หรือคนประเภทนกฮูกนั้นจะมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคไขมัน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคเบาหวาน เป็นต้นค่ะ
จากงานวิจัย (the Study) ที่ได้ถูกตีพิมพ์ (Published)) ลงในวารสารด้าน
สรีรวิทยา (Experimental Physiology) ไปเมื่อช่วงปลายเดือนกันยายน
คศ. 2022 ที่ผ่านมา ได้กล่าวไว้ว่า “คนที่มีพฤติกรรมในการนอนดึก ตื่นสาย
(Night Owls) นั้น มักจะเป็นคนประเภทชอบอยู่เฉยๆ (Sedentary) รวมทั้ง
ไม่ค่อยชอบออกกำลังกายสักเท่าใดค่ะ จึงทำให้ร่างกายมีการสะสมของ
ไขมันอยู่ค่อนข้างมาก (Burned less fat) ” จึงเป็นที่มาของโรคภัยไข้เจ็บ
ต่างๆ ให้ได้ต้องแวะเวียนมาเคาะประตูบ้านนั่นเองค่ะ

การใช้วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติของ คนนอนดึก ตื่นสายอยู่เป็น
ประจำอย่าง “Night Owls” ก็มักจะมีพฤติกรรมต่างๆ ดังนี้ค่ะ:
1). มีการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ที่
ต้องการชั่วโมงการนอนอยู่ที่ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน จึงทำให้รู้สึกอ่อนเพลียอยู่
บ่อยๆ ค่ะ
2). โอกาสในการได้รับแสงอาทิตย์ในยามเช้า ซึ่งเป็นแสงจากธรรมชาตินั้น
น้อยเกินไป จนทำให้อารมณ์ (Mood) ในแต่ละวันนั้นแย่ลง รวมทั้งการอยู่
กับความมืดของช่วงเวลากลางคืน และกับความสลัวของแสงไฟในยามดึก
ของทุกๆ วัน จึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคซึมเศร้า (Depressive
Disorder) ได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับ พวกนอนเร็ว ตื่นเช้า อย่าง
“Early Birds” ที่ตื่นแต่เช้า ก็จะได้รับแสงอาทิตย์ในทุกเช้าของวันใหม่ได้
นานหลายชั่วโมงกว่า ก็จะได้พลังแห่งความสดชื่นในการทำกิจกรรมต่างๆ
ได้ตลอดทั้งวัน เนื่องจากแสงอาทิตย์ในยามเช้านั้นมีส่วนช่วยในการปรับ
อารมณ์ และลดโอกาสที่จะเกิดโรคซึมเศร้า (Depressive Disorder) ค่ะ
คุณผู้อ่าน

3). การกินอาหารในมื้อดึกอยู่เป็นประจำ ของคนนอนดึก ตื่นสาย อย่าง
“Night Owls” ก็มักจะทำให้มีการสะสมของไขมัน และน้ำตาลอยู่ในร่างกาย
ในปริมาณที่เกินความพอดี จนมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคไขมันในหลอด
เลือด และโรคเบาหวานกันอีกด้วยค่ะ
4). หลับยาก (Sleepless) เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องตื่นเช้าเพื่อไปให้ทันกับนัดหมายที่สำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ “Night Owls” มีความพยายาม
ในการเข้านอนให้เร็วขึ้นทั้งๆ ที่ยังไม่ง่วง ก็จะยิ่งทำให้นอนไม่หลับ แต่ก็มีวิธีแก้ค่ะ โดยการลุกขึ้นมาหาหนังสืออ่าน โดยการเปิดไฟสลัวๆ สักพักร่างกายก็จะเริ่มรู้สึกเพลียและหลับได้ในที่สุดค่ะ

ดร. ฟิลลิส ซี (Dr. Phyllis Zee) – ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์การนอนหลับ (Director of the Center for Circadian and Sleep Medicine) ของมหาวิทยาลัย
นอร์ทเวสเทิร์น ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่อง ชั่วโมงการนอน และการตื่นนอนที่แตกต่างกัน (Sleep Chronotype) นั้นมีผลต่อร่างกายของคนเราในการเรื่องของกระบวนการเผาผลาญและกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารอาหารที่บริโภคเข้าสู่ร่างกายให้เป็นพลังงาน
เพื่อนำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย (Metabolism) เนื่องจากทุกอย่างมันมีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันจนเป็นที่มาของความเสี่ยง หรือ ความไม่เสี่ยงที่จะเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิเช่น
โรคเบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไขมัน นั่นเองค่ะ คุณผู้อ่าน
ในความมหัศจรรย์ของมวลมนุษยชาติ (All Humans) ทุกคนมีนาฬิกาชีวิต หรือ
อาจเรียกว่านาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ที่เท่าๆ กัน 24 ชั่วโมง
(an internal 24-hour body clock) ที่สมองได้สร้างฮอร์โมนเมลาโทนิน
(Hormone Melatonin) ขึ้นมาเพื่อช่วยในการควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ
ในร่างกายอย่างเท่าเทียมกันค่ะ อาทิเช่น ความรู้สึกง่วงนอน (Sleepy), ความ
รู้สึกหิว (Get hungry) อยากหาอะไรรับประทานสักหน่อย, ความรู้สึกไม่อยาก
จะทำอะไรเลย ขอนั่งเล่นเรื่อยเปื่อย (Feel sluggish), หรือความรู้สึกแบบ
มีชีวิตชีวา (Feel peppy) อยากจะลุกมาออกกำลังกาย (Exercise) ซะงั้น
และอื่นๆ อีกมากมายค่ะ คุณผู้อ่าน
แหล่งที่มา edition.cnn.com