คำแนะนำ ด้านโภชนาการแห่งอนาคต




“ จริงๆ แล้ว โภชนาการเฉพาะบุคคล ง่ายๆ เลยก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ที่จะจัดอาหารที่เหมาะสมและถูกต้อง ในปริมาณที่ถูกต้อง สำหรับ ผู้บริโภคเฉพาะบุคคล แค่นั้นเลยจริงๆ แทนที่จะจัดตารางกำหนดอาหารที่เป็นประโยชน์แต่แบบกว้างๆ ใช้กับผู้บริโภคทุกรายเหมือนๆ กันไปหมด ก็เหมือนเราตัดเย็บเสื้อผ้าให้กับลูกค้า ก็ต้องให้เค้าใส่ได้พอดี ไม่หลวมไป ไม่คับไป ไม่ยาวไป ไม่สั้นไป แบบนั้นเลย เราต้องทำการศึกษาให้เข้าใจในลักษณะนิสัย สไตล์การดำเนินชีวิตประจำวันของ ผู้บริโภคเป็นรายๆ ไป, รู้และเข้าใจปัจจัยภายในของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุกรรม (genetics), ไมโครไบโอม (microbiome) ซึ่งก็คือ จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย และสุขภาพของมนุษย์ในทุกด้าน ก็เพราะเค้าคอยสร้างความสมดุลให้กับร่างกายและระบบขับถ่าย, การใช้ชีวิตประจำวันในสังคม (social) ของผู้บริโภครายนั้นๆ, สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว (environment) ของผู้บริโภค และอื่นๆ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มีส่วนช่วยให้การกำหนดตารางรายการอาหารที่มีประโยชน์และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภครายนั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จได้ในที่สุดนั่นเอง”
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!
มาดูคำตอบของ มาร์ธา ฟิลด์ – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาโภชนศาสตร์ ที่ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่อง “ทำไมถึงไม่มีสูตรสำเร็จว่า ผู้บริโภคควรจะบริโภคอะไรบ้าง 1, 2, 3, 4 … ในแต่ละมื้ออาหารกันล่ะ”
“ผู้บริโภคแต่ละรายนั้น ก็จะมีอาหารที่ควร และไม่ควรบริโภค ที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้กำหนดอาหาร หรือนักโภชนาการ ก็จะต้องคำนึงถึง “ความต้องการของผู้บริโภค” และ “ปัจจัยภายในต่างๆ ในทุกด้าน” ของแต่ละบุคคล มาเป็นหลักในการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความเกี่ยวเนื่องกันของพันธุกรรม, ความแตกต่างในเรื่องกระบวนการเผาผลาญ (metabolism) ในร่างกายของแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน, รวมทั้งในเรื่องของการออกกำลังกาย ซึ่งผู้บริโภคบางรายอาจไม่มีการออกกำลังกายเลย, หรือบางรายออกกำลังกายแต่พอดี ในขณะที่อาจมีบางรายออกกำลังกายมากเกินไป จนเกินความพอดี เป็นต้น”


แองเจล่า พูล (Angela Poole) ได้อธิบายให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่า “ในกรณีที่ผู้บริโภคมีประวัติของบุคคลในครอบครัวเป็นโรคไขมันในหลอดเลือดสูง (high cholesterol) นักโภชนาการก็จะมีการเพิ่มการบริโภคในเรื่องของ อาหารที่มีไฟเบอร์ มีกากใยยิ่งขึ้น รวมทั้งผักนานาชนิดที่มีความหลากหลาย เป็นต้น”

