ทิศทางและแนวโน้มความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการคาดการณ์สำหรับปี คศ. 2021 – 2026
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา นั้นจะถูกจัดกลุ่มตามประเภทของวัสดุที่ใช้งานค่ะ อาทิเช่น กระดาษ, พลาสติก, แก้ว, และโลหะ เป็นต้น โดยจะมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ใช้วัสดุเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์หลักๆ เลยก็จะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และ เครื่องดื่ม, กลุ่มอุตสาหกรรมผลิต สินค้าจำพวกดูแลสุขภาพ, กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง, กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว นั่นเองค่ะ

มาดูภาพรวมของตลาดบรรจุภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกากันดีกว่าค่ะว่า เป็นอย่างไรกันบ้างน้า
ได้มีการคาดการณ์กันว่า อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีอัตราความเจริญเติบโตต่อปีอยู่ที่ 3.5 % ตลอดช่วงปี คศ. 2021 – 2026 กันเลยทีเดียวค่ะ ก็สืบเนื่องมาจากประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเป็นหนึ่งในหลายๆ ตลาดของทวีปอเมริกาเหนือที่มีอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องที่สุดตลาดหนึ่งนั่นเองค่ะ

โดยเทรนด์หรือแนวโน้มของบรรจุภัณฑ์ ในคศ. นี้ ก็จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลักๆดังต่อไปนี้ค่ะ:
1). ข้อมูลประชากร (Demographics)
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!2). ความต้องการด้านความสะดวกสบายของการหยิบจับบรรจุภัณฑ์ (Convenience packaging)

หากจะขยายความให้เห็นภาพหรือมุมมองที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ก็จะมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ:
1). พฤติกรรมของผู้บริโภคที่แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา รวมทั้งการมีนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product innovation) ใหม่ๆ เข้ามาช่วยตอบโจทย์ เพื่อรังสรรค์บรรจุภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในช่วงเวลาดังกล่าว (แบบถูกที่ถูกทาง
ถูกใจกลุ่มลูกค้า จัดไปค่ะ)
2). บริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ต่างให้ความสำคัญกับการลงทุนกับเทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์ มีการใช้ระบบดิจิตอลมาช่วยในการผลิตกันอย่างจริงจังมากขึ้น
3). เหล่าบรรดาผู้ให้บริการ (Providers) ด้านบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งฉลากสินค้า ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีฐานลูกค้าอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทเครื่องดื่ม ก็จะให้ความสำคัญกับเรื่องของนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ (Packaging innovation) ที่สามารถมองเห็นได้ตั้งแต่การวางตำแหน่งของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย, การถ่ายทอดคำพูดของเนื้อหา, รูปแบบตัวอักษรที่จะใช้ในการสื่อสาร, รวมทั้งภาพลักษณ์ของสินค้า เพื่อให้สามารถเข้าไปอยู่ในใจของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ ซึ่งหากสามารถทำตรงจุดนี้ได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพด้วยแล้วล่ะก้อ ก็จะสามารถทำให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอนั้น มีความแตกต่างจากสินค้าในประเภทเดียวกันได้อย่างชัดเจนนั่นเองค่ะ
4). ประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นนิยมบริโภคไวน์มากที่สุดในโลก โดยเฉพาะไวน์ระดับพรีเมี่ยมที่มีคุณภาพชั้นดี ก็จะเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีฐานะดี
นอกจากนี้ ไวน์ยังสามารถเจาะตลาดกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มชื่นชอบการเล่นกีฬาได้เป็นอย่างดี เช่นกัน โดยจะเห็นได้ว่า มีการผลิตจุกคอร์กสังเคราะห์ ( Plastic/ Synthetic corks) ซึ่งทำจากพลาสติก นอกจากจะผลิตเป็นสีน้ำตาลคล้ายสีของคอร์กแล้ว ยังผลิตเป็นสีฉูดฉาดอื่นๆ ได้อีกด้วยเพื่อให้โดนใจกลุ่มตลาดวัยรุ่น และ ตลาดกีฬา ซึ่งก็จะมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับจุกคอร์กธรรมชาติทุกประการ แต่ดีกว่า เนื่องจากไม่ยุ่ยและขาดง่ายเหมือนจุกคอร์กธรรมชาติค่ะ หรือจะใช้ฝาเกลียว (Screw caps) ก็เป็นที่นิยมมากกว่า จุกคอร์กธรรมชาติแบบเดิมๆ นั่นเองค่ะ
ทั้งนี้ตลาดไวน์ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีอัตราความเจริญเติบโตสูงถึง 7.2 % เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านค่ะ
5). ถึงแม้ว่าความต้องการบริโภคอาหารในประเทศสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นก็ตามที โรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารก็ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ค่ะ ดังนั้นผู้ประกอบการผลิตอาหารส่วนใหญ่ก็จะพยายามทุกวิถีทางที่จะปรับโฉมหน้าตาบรรจุภัณฑ์ของตนเองไม่ให้ตกเทรนด์กระแสนิยมเพื่อให้โดนใจกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุดค่ะ
6). นอกจากหน้าตาของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องทันสมัยแล้ว เทรนด์ที่มาแรงแห่ง
ยุคนี้ คศ. นี้ ก็คือ ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งย่อยสลายได้ง่าย ไม่ก่อให้เกิดขยะหรือสารพิษตกค้าง (ถ้าทำได้ครบองค์ประกอบเหล่านี้ก็แจ่มเลยค่ะ)

แนวโน้มตลาดเครื่องดื่มในประเทศสหรัฐอเมริกา
1). ประเทศสหรัฐอเมริกา นั้นเป็นอีกหนึ่งตลาดหลักที่สำคัญของกลุ่มผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม เนื่องจากเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากกว่า 330 ล้านคนนั่นเองค่ะ โดยเมื่อช่วง 20 ปีที่ผ่านมาตลาดเครื่องดื่มน้ำอัดลมนั้นเป็นที่นิยมบริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกากันแบบสุดๆ ค่ะ แต่ในปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคได้แปรเปลี่ยนไปเป็นอย่างมาก โดยผู้บริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกาหันมานิยมบริโภคน้ำดื่มที่สะอาดเพื่อสุขภาพและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมาเป็นอันดับหนึ่งในขณะนี้กันแล้วค่ะ
2). ประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มลดการบริโภคเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม (Carbonated soft drinks) กันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจวบจนปัจจุบันค่ะ
โดยพวกเขาเหล่านั้น ต่างให้ความสำคัญกับเรื่องของ สภาพภูมิอากาศโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วยฝีมือของมนุษย์ ส่งผลให้ภูมิอากาศแปรเปลี่ยนจนเกิดสภาวะโลกร้อน รวมทั้งโรคระบาดเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย ทำให้ทุกคนต่างหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองกันอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะหันมาเน้นการบริโภคน้ำดื่มบริสุทธิ์ (Water), เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ (Health drinks), และ เครื่องดื่มชูกำลัง (Energy drinks) เพื่อให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า (ต่างก็สร้างพลังบวกจากภายในร่างกาย ไว้ต่อต้านกับโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ไม่ให้ได้เข้ามา
กล่ำกรายกันได้ง่ายๆค่ะ)
3). อุตสาหกรรมนม (Dairy industry) นั้นก็ยังคงเป็นผู้เล่นที่มีบทบาทสำคัญในตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกากันอยู่มิใช่น้อยค่ะ ทั้งนี้โรงงานผู้ผลิตเครื่องดื่มประเภทนม ก็ได้มีความพยายามที่จะลดการใช้พลาสติกในการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์นมให้ได้มากที่สุด โดยได้มีความพยายามที่จะหาทางเลือกเพื่อมาตอบโจทย์โดยการหาวัสดุในการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อลดผลกระทบต่อสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยน (Climate change) ให้ได้อย่างยั่งยืนกันไปยาวๆ ค่ะ (อะไรดีกว่า ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ก็จัดไปเลยค่ะ)
4). ในปัจจุบันเหล่าบรรดาผู้ขายสินค้าต่างให้ความสำคัญในเรื่องของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 2 (Secondary packaging) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือใช้วัสดุที่ได้มาจากการนำกลับมาใช้ซ้ำกันอีกครั้ง (recycled packaging) เพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่ ของประเทศสหรัฐอเมริกาหรืออาจเรียก คนกลุ่มนี้ว่า คนเจนเอ็ม (Gen M) ก็ได้ค่ะ โดยคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนที่เพิ่งจบการศึกษาและอยู่ระหว่างวัยเริ่มต้นทำงานที่มีอายุในช่วง 22-37 ปีนั่นเองค่ะ ซึ่งปัจจุบันคนรุ่นนี้กำลังเข้ามามีบทบาทต่อโลกใบนี้มากที่สุดกันอีกด้วยค่ะ หากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตสามารถทำการตลาดจนสามารถเจาะเข้าไปในกลุ่มคนเจนเอ็มได้สำเร็จแล้วล่ะก้อ ยอดขายก็น่าจะพีคสุดๆ แล้วค่ะ ก็เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงและถือเป็นกลุ่มคนที่มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้โตและก้าวไกลได้ในที่สุดค่ะ

ขอขยายความเพิ่มเติมกันอีกสักหน่อยค่ะ คำว่า บรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 2 นั้นก็คือบรรจุภัณฑ์ที่มาห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 1 เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังเป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้า ช่วยทำให้การขายสินค้านั้นได้รับความสนใจจากผู้บริโภคกันมากยิ่งขึ้นค่ะ เช่น กล่องบรรจุหญ้าหวาน ที่มีซองของผลิตภัณฑ์หญ้าหวานบรรจุรวมกันอยู่จำนวน 100 ซอง เป็นต้นค่ะ
แหล่งที่มา www.mordorintelligence.com