ทิศทางและแนวโน้มของตลาดหุ่นยนต์หยิบใส่บรรจุภัณฑ์ พีคสุดๆ ขยายตัวไปกว่า 11.49%
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!
ทิศทางและแนวโน้มของตลาดหุ่นยนต์หยิบใส่บรรจุภัณฑ์นั้นพีคสุดๆ ขยายตัวไปแล้วกว่า 11.49 % ในปีนี้ และได้มีการคาดการณ์กันว่า จะมีอัตราความเจริญเติบโตลากยาวไปนับจากปีนี้ ไปอีก 7 ปีเป็นอย่างน้อย (ฟันธงค่ะ)
จากข้อมูลงานวิจัยฉบับล่าสุด เกี่ยวกับความต้องการของตลาดหุ่นยนต์หยิบใส่บรรจุภัณฑ์ (Packaging robots market) กับการคาดการณ์ไปจนถึงปี คศ. 2028 ได้แสดงให้เห็นว่า ตลาดหุ่นยนต์หยิบใส่บรรจุภัณฑ์นั้นจะยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด โดยคาดการณ์กันว่าจะมีมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 8,448.21 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปีคศ. 2028 เมื่อเทียบกับในปัจจุบันที่ตลาดหุ่นยนต์หยิบใส่บรรจุภัณฑ์มีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 3,945.43 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นอัตราความเจริญเติบโตต่อปีอยู่ที่ 11.49% ลูกค้าหลักๆ ของตลาดหุ่นยนต์หยิบใส่บรรจุภัณฑ์จะอยู่ในกลุ่มของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม, ระบบการขนส่งและการลำเลียง รวมทั้งกลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคค่ะ

จะขอยกตัวอย่างของหุ่นยนต์ที่ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมกันสักหน่อยค่ะ
โดยเมื่อปีที่แล้ว (คศ.2020) บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ออโตเมชั่น ได้เปิดตัวหุ่นยนต์อุตสาหกรรม RV-8CRL ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่ม
ลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมได้แบบสุดๆ ค่ะ โดยหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
RV-8CRL นั้นมีความสามารถรอบตัวกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการ
หยิบ (pick) และการวาง (place), การตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นงานที่ทำ รวมทั้งความสามารถในการประกอบสิ่งของทั่วๆไปได้อย่างสบายๆ เลยค่ะ

การใช้แรงงานมนุษย์ในการหยิบใส่สินค้าจำนวนมาก ที่ผลิตเสร็จแล้วลงในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นลัง อาจจะดูว่าเป็นวิธีการทำงานที่ก่อให้เกิดการกระจุกตัวเป็นรูปคอขวดได้ รวมทั้งชั่วโมงการทำงานที่เพิ่มขึ้น ซี่งนั่นก็หมายถึงต้นทุนค่าจ้างด้านแรงงานก็ต้องเพิ่มมากยิ่งขึ้น อีกทั้งแรงงานมนุษย์อาจจะเกิดความเมื่อยล้า
จากการทำงานซ้ำๆ ตลอดเวลาทั้งวัน ทำให้เกิดความผิดพลาดในการบรรจุได้
หากมีการนำหุ่นยนต์หยิบใส่บรรจุภัณฑ์มาช่วยในการทำงาน ก็จะเป็นการเพิ่ม
ประสิทธิภาพ, เกิดความคล่องตัว รวมทั้งเกิดความแม่นยำในทุกขั้นตอน
ยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ นอกจากโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตจะต้องมีการวางแผน
การบริหารการจัดการในทุกขั้นตอนของการผลิตให้ได้มีประสิทธิภาพสูงสุดแล้ว การสร้างแบรนด์ให้กับตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (product branding) นั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันค่ะ ผู้ผลิตต้องสร้างความแตกต่างและความโด่ดเด่นในตลาด รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของลูกค้า แต่ก็ไม่ได้หมดเพียงแค่นี้ เนื่องจากยังมีสิ่งที่ท้าทายความสามารถของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต รออยู่อีกเพียบเลยก็ว่าได้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของหน้าตาของบรรจุภัณฑ์ก็ต้องมา – ดูสวย โด่ดเด่น ทนทาน และทันสมัย ก่อนที่จะถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ทำให้ลูกค้าจะตัดสินใจเลือกซื้อเลือกหาหรือไม่นั้นก็คือ ราคา (pricing)
นั่นเองค่ะ

ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19
ทำให้อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน ลดต่ำลงเป็นอย่างมากตลอดช่วงปีที่ผ่านมาจวบจนปัจจุบัน ก็เนื่องมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของทุกภาคส่วนต้องถูกปิดตัวลงเป็นการชั่วคราวเป็นเวลานานหลายเดือน เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ไปยังกลุ่มคนหมู่มาก ส่วนประชากรที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และนี่คือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ทำให้ทุกโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ต่างก็หันมาหาทางเลือกที่ดีกว่า เพื่อไม่ทำให้เกิดการหยุดชะงักในไลน์การผลิตอันเนื่องมาจากพนักงานในโรงงานติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จนต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานานอย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 2-3 สัปดาห์ ส่วนพนักงานในโรงงานที่เป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงที่ได้สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก่อนหน้า ก็ต้องถูกกักตัวเป็นเวลาอย่างน้อย 14-21 วัน กันเลยทีเดียว ทำให้เกิดช่วงสูญญากาศ ขาดแคลนแรงงานในขั้นตอนการผลิตแบบฉับพลัน ทันที จึงเป็นการสร้างปรากฎการณ์ ความต้องการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาช่วยในขั้นตอนการผลิตเกือบจะเรียกได้ว่า
โดยพร้อมเพรียงกันก็ว่าได้ค่ะ เฉกเช่นเดียวกับกระแสนิยมการใช้สื่อโซเชียลอย่างถล่มทลายของประชากรในช่วงที่ โรคไวรัสโควิด-19 อุบัติขึ้นเป็นครั้งแรกจวบจนปัจจุบัน การซื้อขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ก็มาแรงในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 แซงหน้าการเดินช้อปปิ้งเลือกซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าไปหลายขุมกันเลยทีเดียวค่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็พฤติกรรมของประชากรโลกเปลี่ยน อะไรๆ ก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา และยุคสมัยที่แปรเปลี่ยนนั่นเองค่ะ
แหล่งที่มา www.novuslight.com