การลดปริมาณขยะอาหาร เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมโลกให้คงอยู่กับเราไปตราบนานแสนนาน รวมทั้งเพื่อ
เป็นการประหยัดเงิน ในกระเป๋าสตางค์ของคุณๆ นั้นทำได้ไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ
คุณผู้อ่านเคยได้สังเกตุคำว่า “ควรบริโภคก่อน” หรือที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า “Best by”, “Best before” ที่พิมพ์อยู่บนบรรจุภัณฑ์ที่ใส่อาหารกันบ้างหรือไม่คะ
ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ที่กล่าวมานี้ ก็คือ วันที่คุณผู้อ่านควรจะมีการบริโภคก่อน ก็เนื่องจากว่า อาหารที่อยู่ภายในของบรรจุภัณฑ์ชิ้นนั้นๆ จะยังคงมีสภาพความสด และมีคุณภาพดีเยี่ยมนั่นเองค่ะ ก่อนถึงวันที่ระบุไว้ แต่
ถ้าเลยวันที่นั้นๆ ไปแล้ว อาหารในบรรจุภัณฑ์นั้นๆ ก็ยังพอจะรับประทานได้ แต่ความสด, รสชาติ หรือสารอาหารก็อาจจะลดน้อยลงไป แต่ยังไม่ถึงขั้นบูดเสียเว้นแต่จะล่วงเลยเวลา จากที่เขียนว่า “ควรบริโภคก่อน”, “Best by”, “Best before” ไปเนิ่นนาน อาหารก็อาจจะมีโอกาสเสียและบูดเน่าได้นั่นเองค่ะ

แต่ถ้าคุณผู้อ่านเห็นคำว่า “หมดอายุวันที่” หรือเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า
“EXP”, “Expired date” นั้นก็หมายถึงวันหมดอายุของอาหารชิ้นนั้นๆ จริงๆแล้วค่ะ จึงไม่ควรนำอาหารชิ้นนั้นๆ มาบริโภค เนื่องจากคุณภาพของอาหารนั้นจะเกิดการเปลี่ยนสภาพ และกลายเป็นอาหารเน่าเสียแล้วนั่นเองค่ะ จนอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ (Any adverse reactions) อาทิเช่น ท้องเสีย ท้องร่วง (Have diarrhea) ค่ะ

จากการเก็บสถิติ (Statistics) ปริมาณขยะอาหาร (Food waste) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ในแต่ละปีนั้นจะมีปริมาณขยะอาหารสูงถึง 35 ล้านตัน กันเลยทีเดียวค่ะ และหากจะมาดูในส่วนของแต่ละครัวเรือนของประเทศ ที่ถูกระบุว่า จะมีปริมาณของขยะอาหารที่เหลือทิ้งมากถึง 30 % เมื่อเทียบกับปริมาณอาหารที่ซื้อเข้าในแต่ละครัวเรือนที่ 100 % (เยอะใช่มั๊ยละค่ะ คุณผู้อ่าน)

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของประเทศสหรัฐ (The U.S. Environmental Protection Agency) ได้มีการรายงานข้อมูลไว้เมื่อปีที่แล้ว (คศ. 2021) เกี่ยวกับเรื่อง ปริมาณขยะอาหาร ที่ประชากรของประเทศทิ้งหรือปล่อยให้เน่าเสียไปอย่างน่าเสียดาย นอกจากจะต้องสูญเสียเงินในกระเป๋าสตางค์ในช่วงที่มีการจับจ่ายซื้อหามาจนเกินความต้องการแล้ว ยังเป็นที่มาของอาหารที่ต้องถูกทิ้งให้เน่าเสีย รวมถึงการทิ้งอาหารทั้งๆ ที่ยังสามารถรับประทานได้อยู่นั่นเองค่ะ เพราะฉลากบนบรรจุภัณฑ์ที่เขียนว่า “ Best Before” , “ Best by” , “ ควรบริโภคก่อน” นั้นคือหากเลยวันที่ระบุไปก็ยังรับประทานได้ ยังไม่เกิดการบูดเสีย แต่คนส่วนใหญ่ก็มักจะทิ้ง จนเป็นที่มา
ของการเกิดปัญหาสภาพภูมิอากาศที่แปรเปลี่ยน เนื่องจากปริมาณขยะอาหารที่เน่าเสียส่งผลเสียทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกนั่นเองค่ะ

ดังนั้นจึงเป็นที่มาของปริมาณขยะอาหาร ที่ต้องถูกทิ้งอย่างมหาศาลในแต่ละปีลงบนโลกกลมๆ ใบนี้ จนทำให้เกิดเป็นอีกหนึ่งตัวเร่งให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกให้แย่ไปกว่าเดิม รวมทั้งการเกิดวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก (Climate changes) ที่พร้อมจะปะทุและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และยาวนานกว่าเดิม อย่างต่อเนื่องค่ะ โดยเฉพาะก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ที่เกิดขึ้นจากขยะอาหารนั้นสามารถทวีความรุนแรงเทียบเท่า กับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide emissions) ของโรงไฟฟ้าถ่านหินถึง 42 โรง (42 Coal-fired power plants) ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกกันเลยทีเดียวค่ะ

นอกจากนี้ พาเมลา คอช (Pamela Koch) – รองศาสตราจารย์ด้านโภชนาการ (Associate professor of Nutrition) แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia university) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า “นอกจากปัญหาของขยะอาหารจะเกิดจากพฤติกรรมในการบริโภคของผู้บริโภคแล้ว (Consumer behavior) ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้เกิดขยะอาหารไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขั้นตอนต่างๆ จากกระบวนการในการผลิตอาหาร ก็ล้วนแล้วแต่มีส่วนที่ก่อให้เกิดปริมาณขยะอาหารได้” ด้วยเช่นกันค่ะ

ท้ายที่สุดแล้ว ประชากรของนานาประเทศทั่วโลก, ทุกภาคส่วนของการผลิตไม่ว่าจะเป็นจากภาครัฐบาล หรือจากภาคเอกชน รวมทั้งประเทศต่างๆ ทั่วโลก ก็สามารถมาเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์และลงมือปฎิบัติกันอย่างจริงจังเพื่อลดปริมาณขยะอาหารให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ (คุณผู้อ่านล่ะค่ะ มีความคิดเห็นเป็นประการใดกันบ้างคะ)
แหล่งที่มา edition.cnn.com