วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additives) และสารปรุงแต่งสี กลิ่น รส (Artificial Flavoring and Natural Flavoring) มีดีอย่างไร ที่ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารขาดไม่ได้
ก็เพราะวัตถุเจือปนอาหาร หรือที่คุณผู้อ่านก็อาจจะเคยได้ยินผ่านหูหรือเห็น
ผ่านตากันมาบ้างค่ะว่า สารเติมแต่ง (Food Additives) มันก็คืออันเดียวกันนั่นเองค่ะ เจ้าสารเติมแต่ง หรือวัตถุเจือปนอาหาร นั้นก็มีภารกิจที่สำคัญในการแปรรูปอาหารค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ :

1). การถนอมอาหารให้ไม่เกิดการเน่าเสียได้ง่าย เราก็จะมีการใส่วัตถุกันเสีย(Preservatives) เข้าไปในอาหารที่แปรรูป แต่ต้องในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคกันด้วยนะคะ
2). วัตถุกันหืน (Antioxidant) ก็เป็นอีก 1 วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additives)ที่ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารใช้เพื่อป้องกันการเกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่นของกรดไขมันอิ่มตัว และช่วยชะลอการเสียของอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทที่มีส่วนประกอบของไขมัน (fats) และน้ำมัน (oils) นั่นเองค่ะ
3). สารปรุงแต่งสี กลิ่น รส (Artificial Flavoring and Natural Flavoring)
ก็จะเป็นสารที่ช่วยปรุงแต่งกลิ่น สี และรสชาติของอาหารให้ได้คล้ายกับธรรมชาติ
ให้ได้มากที่สุดค่ะ คุณผู้อ่านลองนึกถึงไอศกรีมมะม่วง ก็จะเห็นภาพเลยใช่มั๊ยคะ
อีกทั้งช่วยในการคงรูปของอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปไว้ให้ได้มากที่สุดกัน
ไปเลยค่ะ
4). สารที่ช่วยให้อาหารมีความคงตัว (Stabilizing Agent) เป็นเนื้อเดียวกัน
และมีรูปร่าง รูปทรง (Texture) ให้ดูน่าหาซื้อมารับประทานค่ะ ส่วนใหญ่ก็จะ
ใช้เป็นส่วนผสมของไอศกรีม, น้ำสลัด, อาหารแช่แข็ง (Frozen Food)
เป็นต้นค่ะ

โดยรวมๆ แล้ว การใส่วัตถุเจือปนอาหาร หรือ สารเติมแต่ง (Food Additives) ลงไปในอาหารแปรรูป ก็เพื่อให้อาหารมีความปลอดภัย (Safety) และมีความสดใหม่ (Freshness) ค่ะ ป้องกันไม่ให้อาหารเกิดการเน่าเสียเร็ว ถือเป็นการถนอมอาหารให้อยู่กับผู้บริโภคได้นานวันยิ่งขึ้น ป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรา (Mold), แบคทีเรีย (Bacteria) ซึ่งหากมีการบริโภคอาหารที่มีเชื้อรา หรือ แบคทีเรีย ปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย ผู้บริโภคอาจเกิดภาวะอาหารเป็นพิษ (Foodborne Illness) หรืออาจมีอาการวิกฤตกว่านั้น จนถึงขั้นเป็นโรคโบทูลิซึ่ม (Botulism) คือเป็นโรคอาหารเป็นพิษชนิดร้ายแรงแบบเฉียบพลัน (อย่างนี้ต้องถอยห่างกันแบบสุดๆ ไปเลยค่ะ)
แหล่งที่มา www.fda.gov