อุตสาหกรรมโรงงานสีเขียว – โรงงานแห่งอนาคต / The Green Factory of the Future
คุณผู้อ่านเชื่อไหมคะว่า โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะจากประเทศใดๆ ก็ตามที บนโลกใบนี้ ล้วนแล้วแต่มีการปล่อย (Carbon Footprint) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกออกมาจากการทำกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรด้วยกันทั้งสิ้น อาทิเช่น การเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง, การใช้ไฟฟ้า, การจัดการของเสีย และการขนส่ง เป็นต้น จนเกิดสภาวะโลกร้อน และนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกรวมทั้งการเกิดสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน เช่น คลื่นความร้อน ที่เกิดขึ้นในหลายรัฐของประเทศอินเดีย ไปเมื่อกลางปี พ. ศ. 2563 โดยในครั้งนั้นประเทศอินเดีย มีอุณหภูมิสูงไปแตะที่ระดับ 50 องศาเซลเซียส กันเลยทีเดียวค่ะกับอีกสถานการณ์หนึ่งที่เห็นกันได้อย่างชัดๆ เลยว่า การเกิดไฟป่าที่โหมรุนแรงอย่างหนักในประเทศออสเตรเลีย ในช่วงปลายปี พศ. 2562 ได้คร่าชีวิตสัตว์ป่าไป

จึงได้เกิด ความตกลงปารีส (Paris Agreement) ขึ้นในปีคศ. 2015 ซึ่งเป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก เพื่อกำหนดมาตรการ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีเป้าหมายที่ท้าทายคือ การรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มมากกว่า 2 องศาเซลเซียสโดยจะพยายามไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อหลีกเลี่ยงความหายนะทางสภาพภูมิอากาศ ก็เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้เป็นศูนย์ ภายในปี 2050 และต้องลดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในปี 2030 กันเลยทีเดียวค่ะ

ทุกภาคส่วนของนานาประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ภาคประชาชน พลเมืองของแต่ละประเทศ ต่างก็มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ทุกคนมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ที่ต้องเริ่มต้นทันที ช่วยกันคนละไม้ คนละมือ เท่าที่เราจะทำได้ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการต่อภาพจิ๊กซอว์ (jigsaw) ให้เป็นภาพที่สมบูรณ์แบบ เพื่อโลกสีเขียว, อุตสาหกรรมสีเขียว ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมบริษัทยักษ์ใหญ่ในแวดวงต่างๆ ถึงได้ลุกขึ้นมาเป็นแบบอย่าง และเป็นผู้นำในการดำเนินการโครงการสีเขียวต่างๆ มากมายเพื่อมวลมนุษยชาติ โดยเฉพาะเรื่องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยหันมาใช้พลังงานสะอาด เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมโลกให้คงอยู่คู่กับมวลมนุษยชาติกันต่อไปค่ะ นอกจากนี้ บริษัทยักษฺใหญ่ต่างๆ ยังได้มีการรณรงค์ให้บริษัทคู่ค้าและบริษัทเครือข่ายหันมาเป็นเครือข่ายพันธมิตรอุตสาหกรรมสีเขียวกันอีกด้วย

จากงานวิจัยและการสำรวจผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกกว่า 1,200 บริษัท ของ บีซีจี ได้แสดงให้เห็นถึง ความคาดหวังในผลสำเร็จ และ การนำมาตรการ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลก จนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้เกิดสภาวะโลกร้อน กับประชากรโลก และท้ายที่สุดก็ส่งผลให้เกิดสภาพภูมิอากาศโลกที่แปรปรวน จนเกิดภัยพิบัติต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นไฟป่า, น้ำท่วมฉับพลันและรุนแรง, น้ำป่าไหลหลาก, ธารน้ำแข็งละลาย, พายุโซนร้อน และการเกิดมหันตภัยต่างๆ มากมาย ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของผู้นำจากนานาประเทศทั่วโลก ว่าจะสามารถร่วมฟันฝ่าวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิ์ผลได้มากน้อยเพียงใดนั่นเองค่ะ

ทีมงานวิจัยเชื่อมั่นว่า ยุคนี้สมัยนี้ การมีเศรษฐกิจที่ยั่งยืน กับ การร่วมด้วยช่วยกันรักษาสภาพภูมิอากาศโลกให้ยั่งยืนนั้น มันเป็นของคู่กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จนเราไม่สามารถที่จะทำการแยกมันออกจากกันได้ค่ะ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ หรือ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตก็ตามที ก็ควรจะต้องมีการปรับตัว ให้สามารถดำเนินกิจการควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติให้คงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด เพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตให้สามารถดำเนินกิจการได้อย่างยั่งยืนตลอดไปค่ะ
โรงงานอุตสาหกรรมสีเขียว – เพื่อโลกแห่งอนาคต

จากสภาวะโลกร้อนที่แผ่ขยายกินอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลไปทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งการเกิดสภาพภูมิอากาศโลกที่แปรปรวนกันอยู่อย่างต่อเนื่อง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้นำจากนานาประเทศทั่วโลก ทำความตกลงปารีส (Paris Agreement) ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลก โดยมีเป้าหมายที่ท้าทาย นั่นก็คือ ต้องรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ นานาประเทศต้องตั้งเป้าหมายและพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050 รวมทั้งภายในปี 2030 ต้องลดให้ได้มากที่สุดกันเลยทีเดียวค่ะ
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!
แหล่งที่มา bcg.com