เด็กเล็กที่ทานมังสวิรัติ นั้นจะมีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อเทียบกับ เด็กเล็กที่รับประทานเนื้อสัตว์
หากจะทำการเปรียบเทียบกันระหว่าง เด็กเล็ก ที่ทานมังสวิรัติ (Vegetarian Children) กับ เด็กเล็กที่ไม่ทานมังสวิรัติ (Non –vegetarian Children) หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เด็กเล็กที่ทานเนื้อสัตว์ (Meat- eating Children) นั่นเองค่ะ จากงานวิจัย (Study) ทำให้ทราบว่า จะมีโภชนาการ (Nutrition) และอัตราความเจริญเติบโต (Growth), ความสูง (Height) ที่ใกล้เคียงกัน (similar) แต่จะแตกต่างกันในเรื่องของน้ำหนัก (but not weight) นั่นเองค่ะ
จากวารสารด้านกุมารแพทย์ ที่ได้ตีพิมพ์บทความงานวิจัยชิ้นนี้ ไปเมื่อวันจันทร์
ที่ผ่านมา ได้ระบุด้วยว่า “เด็กเล็กที่ทานมังสวิรัติ นั้นจะมีความเป็นไปได้มากกว่า
ที่จะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ (Underweight) เมื่อเทียบกับ เด็กเล็กที่รับประทานเนื้อสัตว์” กันเลยทีเดียวค่ะ

ดร. โจนาธาน แมไกวร์ ( Dr. Jonathon Maguire) – กุมารแพทย์ ประจำโรงพยาบาลเซนต์ ไมเคิล ของประเทศแคนาดา และเป็นทั้งผู้เขียนงานวิจัยชิ้นนี้กันอีกด้วยค่ะ ได้กล่าวในวารสารทางด้านกุมารแพทย์ไว้ว่า ตลอดช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ประชากรโลกได้เห็นกระแสความนิยมในการบริโภค Plant-based alternatives เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เพื่อขานรับกับกระแสรักษ์โลกที่มาแรงอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือก ที่ทำมาจากพืช เนื้อที่ไม่ใช่เนื้อนั่นเองค่ะ โดยผู้เขียนงานวิจัยยังได้กล่าวด้วยว่าแต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยมีใครศึกษาและทำการวิจัยอย่างจริงจังในประเทศแคนาดา เกี่ยวกับ ผลลัพธ์ทางด้านโภชนาการของเด็กเล็กที่ทานมังสวิรัติอย่างเดียวจะออกมาเป็นอย่างใดบ้าง เช่นในด้านสุขภาพ หรือเรื่องอื่นๆ เป็นต้น

ในงานวิจัยชิ้นนี้ ได้มีการใช้ข้อมูลจากเด็กเล็ก ในประเทศแคนาดา ที่ได้เข้าร่วมโครงการที่ประมาณ 9,000 คน โดยมีอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 8 ปี ในช่วงปี คศ. 2008 ถึง ปีคศ. 2019 ค่ะ โดยทุกปี จะมีทีมแพทย์ รวมทั้งผู้ช่วยทีมงานวิจัย
เข้าไปวัดเกณฑ์มาตรฐานของผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ
การวัดดัชนีมวลกาย (body-mass index), น้ำหนัก (weight), ส่วนสูง (height), ระดับคอเลสเตอรอล (cholesterol levels), ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides), ระดับวิตามินดี (vitamin D levels) ซึ่งจะควบคุมภาวะความสมดุลของ แร่ธาตุ แคลเซียม และฟอสเฟต ที่จะมีผลต่อกระบวนการสร้างกระดูกให้แข็งแรง นอกจากนี้ วิตามินดียังต้านการอักเสบ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน, รวมทั้งจัดให้มีการตรวจวัดปริมาณเฟอริตินในเลือด (serum ferritin levels) เพื่อดูว่าร่างกายขาดธาตุเหล็กหรือไม่ค่ะ

แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ได้แสดงให้เห็นชัดว่า เด็กเล็กที่รับประทานเฉพาะอาหารมังสวิรัติ (Vegetarian children) นั้นจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า เด็กที่รับประทานเนื้อสัตว์ (Meat-eating children) นั่นเองค่ะ

คุณผู้อ่านจะเห็นได้ว่า การที่เด็กเล็ก จะทานเฉพาะอาหารที่เป็นมังสวิรัติ นั้นมี
น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเมื่อเทียบกับเด็กเล็กที่รับประทานเนื้อสัตว์ ซึ่งก็อาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ด้วยกันค่ะ อาทิเช่น เด็กรายนั้นๆ อาจจะมีภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) นั่นก็คือ ภาวะที่ร่างกายบริโภคอาหารและได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสมทั้งในด้านปริมาณ และความครบถ้วนของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นการได้รับน้อยเกินไป หรือไม่ก็มากจนเกินความต้องการ จึงทำให้ร่างกายเกิดภาวะผิดปกติ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 1). ภาวะโภชนาการต่ำ (undernutrition) และ 2). ภาวะโภชนาการเกิน (overnutrition) นั่นเองค่ะ

ดังนั้น ผู้นำครอบครัว ก็คงต้องหันกลับมาพิจารณาทบทวนกันให้ถ้วนถี่สักหน่อยค่ะ
ว่า เราจะเลือกเดินทางซ้าย หรือเลือกเดินทางขวา หรือจะเลือกเดินทางสายกลาง (คุณผู้อ่านล่ะคะ มีความคิดเห็นเป็นประการใดกันบ้างคะ?)

แหล่งที่มา edition.cnn.com
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!