การคิดงานอะไรก็ตาม หากสมองของคนเราต้องใช้เวลาในการครุ่นคิดกับงานชิ้น
นั้นๆ อย่างหนักหน่วง (Hard thinking) เป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงติดต่อกัน (A day) แน่นอนค่ะว่า ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายของคุณๆ (Your body) จนบางครั้งอาจตัดสินใจเลือกตัวเลือกที่ผิดพลาดหรือแย่ไปกว่าเดิม (To make worse choices) ก็เป็นไปได้นะคะ และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยชิ้นล่าสุด
(A new study)ที่ได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารชีววิทยา (in the Journal Current Biology) ไปเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2565 ที่ผ่านมานั่นเองค่ะ
หากว่า มนุษย์เราต้องใช้เวลาในการครุ่นคิด ไตร่ตรองกับชิ้นงานที่มีความยาก และมีความสลับซับซ้อนหลายปมหลายเงื่อน ก็คงต้องใช้ความคิดอย่างหนักหน่วง รวมทั้งเพิ่มความรอบคอบในทุกรายละเอียดกันเข้าไป ก็จะยิ่งทำให้สมองเกิดความเหนื่อยล้า (Cognitive fatigue) มากยิ่งขึ้นค่ะ แน่นอนค่ะว่า ความเหนื่อยล้า
(Fatigue) ได้ส่งสัญญาณ (Signal) เพื่อบอกให้ร่างกายของมนุษย์ต้องหยุด และพักสมองจากการคิดงานกันก่อนสักช่วงเวลาหนึ่ง (Stop working) เพื่อให้กลไกต่างๆ ของสมองได้มีเวลาชาร์จพลังความคิดได้อย่างสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพกันต่อไปค่ะ ( คุณผู้อ่านก็คงจะเคยตกอยู่ในสภาวะที่คิดงานกันไม่ออกมาบ้างไม่มาก ก็น้อย ใช่มั๊ยล่ะคะ ก็เพราะสมองเกิดการเหนื่อยล้า จากความกดดันที่จะ
ต้องเร่งคิดๆ แล้วก็คิดงาน ที่มีความยากรวมทั้งมีความสลับซับซ้อน นั่นเองค่ะ)

ทางออกที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้มนุษย์เราไม่เร่งรีบคิดๆ จนต้องรีบตัดสินใจเลือกทางเลือกจนเกิดข้อผิดพลาด หรือเกิดความเสียหาย นั่นก็คือ การหยุดพักสักครู่ (Take a break) หรือ การเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอย่างอื่น (Try new things) เพื่อให้สมองได้เกิดการผ่อนคลาย ( Relax) ค่ะ

นอกจากนี้ยังมี ดร. ฟิลลิป แอคเคอร์แมน (Dr. Phillip Ackerman) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา (A professor of psychology) ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งจอร์เจีย (Georgia Institute of Technology) ได้เคยกล่าวไว้ว่า “สมองของมนุษย์เราจะ
ไม่รู้สึกเหนื่อยล้า หากได้ทำกิจกรรมที่ตนเองมีความชื่นชอบ และมีความสุข
(an activity you enjoy) แต่ในทางกลับกัน สมองของมนุษย์จะรู้สึเหนื่อยล้า หากต้องคิดงานที่มีความยาก หรือทำสิ่งใดที่ไม่ได้อยู่ในความชื่นชอบเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมง” (คุณผู้อ่านล่ะคะ มีความคิดเห็นเป็นประการใดกันบ้างคะ)

ดร. ฟิลลิป แอคเคอร์แมน (Dr. Phillip Ackerman) ได้ยกตัวอย่างถึง การที่มนุษย์เราต้องใช้เวลานานเป็นชั่วโมงๆ กับการนั่งอ่านหนังสือวิชาการเล่มหนาๆ (a Textbook) ว่าสภาพจิตใจ อาจตกอยู่ในสภาวะความตึงเครียด/ ท้อใจ (Mentally exhausted) ว่าเมื่อไรจะอ่านจบสักทีนะ เมื่อเทียบกับการนั่งอ่านนวนิยาย (Reading a novel) ที่มนุษย์มีความชื่นชอบ และอยากจะทราบเรื่องราวความเป็นมาของต้นเรื่องไปจนถึงตอนจบ ดังนั้นสภาวะจิตใจจึงไม่รู้สึกถึงความเหนื่อยล้า, อ่อนล้า กับการที่ต้องใช้เวลานั่งอ่านติดต่อกันเป็นเวลานานหลายชั่วโมง (เห็นภาพเลยค่ะ คุณผู้อ่านบางท่าน ก็อาจจะเคยมีประสบการณ์การนั่งอ่านนวนิยายเรื่องโปรด แบบถึงไหน ถึงกัน ถ้าอ่านยังไม่
จบเรื่องก็จะยังไม่นอนกันเลยทีเดียว ใช่มั๊ยล่ะคะ)

ศาสตราจารย์ ดร.ฟิลลิป แอคเคอร์แมน ได้มีการพูดถึง การที่มนุษย์เราใช้
พลังสมอง (Brain power) ไปกับการคิดงาน หรือคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ยากเป็น
ระยะเวลานานหลายชั่วโมง ย่อมส่งผลให้สมองเกิดการอ่อนล้า, เหนื่อยล้า
(get fatigued) ขึ้นได้เสมอ (เห็นด้วยเลยค่ะ คุณผู้อ่าน)
ส่วนใหญ่แล้วในชีวิตจริงของการทำงาน มนุษย์เราก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยง
การใช้สมองในการคิดงาน คิดโปรเจกต์ต่างๆ อย่างจริงจังได้ แน่นอนค่ะว่า
มันต้องใช้เวลาในการคิดงานเป็นเวลานานหลายชั่วโมง และคนเราก็ย่อมที่จะ
แสดงศักยภาพ ความสามารถกันอย่างเต็มที่ใช่มั๊ยละค่ะ

ส่วนใหญ่แล้ว มนุษย์เราก็จะเลือกทางออกหลักๆ จาก 3 แนวทางที่กำลังจะกล่าวถึงนี้ค่ะ มาดูกันค่ะว่า มีอะไรบ้างน้า
ทางเลือกที่ 1. คือ คิดงานยากกันต่อไป แต่ลดความพยายามลง เนื่องจากสมองเหนื่อยล้าจนคิดไม่ค่อยจะออกกันแล้วค่ะ
ทางเลือกที่ 2. คือ ยังคงมุ่งมั่นในการคิดงานยากต่อไป ถึงแม้สมองยังคงมีความเครียด และความอ่อนล้าค่ะ
ทางเลือกที่ 3. คือ คิดให้มากยิ่งขึ้น แบบไม่ท้อถอย ไม่ลดความพยายามค่ะ
คุณผู้อ่านล่ะค่ะ จะเลือกทางเลือกที่ 1 ทางเลือกที่ 2 หรือทางเลือกที่ 3 กันดีล่ะคะ
แหล่งที่มา edition.cnn.com