อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มส่งต้นทุนที่สูงขึ้นไปสู่ผู้บริโภค
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!
จากสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ทั่วโลกต่างก็ต้องเผชิญกับสภาวะเงินเฟ้อทั้งในช่วงก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ลากยาวมาจวบจนปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบการผลิตอาหารและเครื่องดื่มต่างก็ไม่สามารถที่จะแบกรับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นรวมถึงการตรึงราคาสินค้าของตนเองได้อีกต่อไป แน่นอนค่ะว่า ทางออกที่ผู้ประกอบการผลิตอาหารและเครื่องดื่มต่างก็มีมุมมองไปในทิศทางเดียวกันว่า มันถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการปรับขึ้นราคาสินค้าเพื่อความอยู่รอดของกิจการ การส่งต่อนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้บริโภคที่ต้องแบกรับการปรับขึ้นราคา ไม่ว่าจะเป็นในหมวดของการผลิตอาหารและเครื่องดื่มค่ะ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเองค่ะ

โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มต่างก็ต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบการผลิต, ต้นทุนต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบการผลิตได้มีการปรับขึ้นราคา,
บรรจุภัณฑ์ต่างก็มีต้นทุนที่สูงขึ้น รวมถึงการขนส่งสินค้าก็มีต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นตามราคาน้ำมันโลกที่ได้มีการปรับขึ้นราคาอย่างต่อเนื่องค่ะ

ฟิล เลมเพิร์ท (Phil Lempert) – นักวิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรมอาหาร ได้กล่าวถึงในช่วงก่อนที่จะมีการปรับขึ้นราคาของวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหารและเครื่องดื่มนั้น ไม่ค่อยจะได้เห็นปรากฎการณ์ของการปรับราคาขึ้น
ของบรรจุภัณฑ์ต่างๆ, สินค้าอุปโภคบริโภค, ราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว, รวมทั้งการปรับขึ้นราคาของระบบขนส่งต่างๆ เรียกได้ว่าทุกอย่างโคจรมาเจอกันแบบครบเซ็ท แท็กทีมกันเข้ามาเลยค่ะ ในขณะเดียวกันการรณรงค์ลดสภาวะโลกร้อนจากนานาประเทศทั่วโลกก็ยังคงเดินเครื่อง เดินหน้ากันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับภาคการผลิต ที่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกให้ได้มากที่สุด รวมทั้งการรณรงค์การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่รู้คุณค่า เกินความจำเป็น เพื่อช่วยกันรักษาระบบนิเวศน์ให้อยู่คู่กับโลกใบนี้ให้ตราบนานแสนนาน ให้ได้อย่างยั่งยืน (Sustainability) นั่นเองค่ะ
แหล่งที่มา www.fooddive.com