ทุกคนมีสิทธิที่จะล้มได้ในทุกเมื่อ แต่ต้องเรียนรู้ที่จะฝึกตนเองให้พร้อมที่จะลุกขึ้นให้ไวและพร้อมที่จะก้าวเดินต่อไปได้อย่างมั่นคงกว่าเดิม
มนุษย์ทุกคนบนโลกกลมๆใบนี้ ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร ก็ล้วนแล้วแต่ จะได้ประสบพบเจอกับเรื่องราวที่หนักหน่วงที่ได้ผ่านเข้ามาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ชีวิตส่วนตัว, หน้าที่การงาน, โรคภัยไข้เจ็บ,
ภัยธรรมชาติที่ได้มาจ่อกันถึงหน้าประตูบ้าน, หรือแม้แต่
โรคระบาดต่างๆ ที่ได้ทำให้วิถีชีวิตของผู้คน ต้องแปรเปลี่ยนไปจากเดิม วิกฤตการณ์ต่างๆ ที่ได้ผ่านเข้ามาในชีวิต จนทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีอันต้องล้มแบบไม่เป็นท่าหรือเพียงแค่สะดุดหน้าคะมำไปบ้าง ไม่มากก็น้อยค่ะคุณผู้อ่าน แต่มันก็ขึ้นอยู่ที่ว่า ใครจะสามารถล้ม แล้วลุกขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมที่จะก้าวเดินต่อไปให้ได้อย่างมั่นคง และรวดเร็วกว่ากันเท่านั้นค่ะ เราจะมาส่องวิธีที่จะรับมือ กับวิกฤตการณ์ต่างๆ เหล่านี้กันค่ะ ว่ามีวิธีอะไรกันบ้างน้า

เคนดรา คูบาลา (Kendra Kubala) – นักจิตวิทยาคลินิค (Clinical Psychologist) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง “ทุกคนมีสิทธิที่จะล้มได้ในทุกเมื่อ แต่ก็ต้องเรียนรู้
ที่จะฝึกตนเองให้พร้อมที่จะลุกขึ้นให้ไว และพร้อมที่จะก้าวเดินต่อไปให้ได้อย่างมั่นคงและแข็งแกร่งกว่าเดิม (Resilience) มันเป็นเรื่องที่ท้าทาย (Challenging)
ความสามารถเป็นอย่างมากกับการที่จะต้องฝ่าวิกฤตการณ์ใดๆ ที่ยากลำบากและยังไม่มีแนวโน้มว่าจะจบลงง่ายๆ กันอีกด้วย โดยได้ยกตัวอย่างของวิกฤตการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ได้ทำให้ทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบยาว และซึมลึกไปตามๆ กันในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นในภาคของครัวเรือน (Household sector), ภาคธุรกิจ (Business sector), ภาคอุตสาหกรรม (Industrial sector) และภาคอื่นๆ (Other sectors) เป็นต้น”

เนื่องจากมนุษย์ทุกคนไม่ชอบที่จะให้มีอะไรเข้ามาเปลี่ยนแปลงในชีวิต
(Inherently) กล่าวคือ ชอบที่จะเห็นทุกอย่างดำเนินไปอย่างมีระบบระเบียบ
(Logical) ตั้งแต่การเริ่มต้น (Beginning), ผ่านกระบวนการระหว่างทาง (Middle) จนกระทั่งมาถึงจุดเสร็จสิ้นสมบูรณ์ (the End) นั่นเองค่ะ หากมีอะไรที่เข้ามา
ทำให้เกิดการสะดุด เปลี่ยนแปลงไปจากที่ควรจะเป็น มนุษย์เราก็จะเกิดเป็นความกังวล, ความหนักใจ (Worry) อย่างหนัก ถึงหนักมาก (Excessive) จนกลายเป็นความวิตกกังวล, ความตื่นตระหนัก (Anxiety) และไม่พร้อมที่จะรับมือกับ
สถานการณ์ที่เลวร้ายต่างๆ ได้นั่นเองค่ะ
นักจิตวิทยาคลินิค อย่าง เคนดรา คูบาลา ได้กล่าวถึง ทุกคนมีสิทธิที่จะล้มได้ในทุกเมื่อ แต่ก็ต้องเรียนรู้ที่จะฝึกตนเองให้พร้อมที่จะลุกขึ้นให้ไว และพร้อมที่จะก้าวเดินต่อไปให้ได้อย่างมั่นคงและแข็งแกร่งกว่าเดิม โดยสามารถฝึกฝนได้จากทักษะต่างๆ (Various Strategies) ดังต่อไปนี้ค่ะ:

1). มีสติอยู่กับปัจจุบัน (Practice mindfulness)
หลายๆ คนอาจเข้าใจผิดว่า การที่จะมีสติได้นั้น ต้องไปนั่งสมาธิ เข้าณาน
(Meditation) กันถึงจะมีสติได้ แต่ในความเป็นจริง แค่เราตั้งสติอยู่กับปัจจุบันรับรู้ถึงสิ่งที่เรากำลังเผชิญหน้า หรือทำอยู่ ในสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจุบันอันนั้นล่ะ คือการมีสติ (Mindfulness) ค่ะ เราต้องให้ความใส่ใจในทุกขณะที่
ดำเนินอยู่ของประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Five Senses) ซึ่งประกอบไปด้วย การได้ยิน (Hear), การมองเห็น (See), รู้รสสัมผัส (Taste), การได้กลิ่น (Smell) และ การ
สัมผัส (Touch) เพราะการมีสติอยู่กับปัจจุบัน จะช่วยให้มนุษย์เรามีความใจเย็น และสงบมากยิ่งขึ้น
(Calm down) ไม่ฟูมฟาย เพื่อจะได้ดึงสติให้กลับมาคิดอ่าน หาหนทางที่จะฟันฝ่าอุปสรรค ความยากลำบากต่างๆ (Adversity) และพร้อมที่จะก้าวเดินต่อไป (Move forward) ให้ได้อย่างมั่นคง (Steady way) และแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมค่ะ
2). มีกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ (Have a consistent routine)
มนุษย์เราส่วนใหญ่แล้ว ชอบที่จะมีกิจกรรมต่างๆ ทำจนเป็นกิจวัตรประจำวัน
มันก็เหมือนเป็นกรอบให้เราอุ่นใจว่า เราเองเป็นผู้กำหนดว่าจะทำอะไรบ้างใน
แต่ละวัน และได้ทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นจนครบอย่างที่ใจมุ่งหวังไว้นั่นเองค่ะ
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ช่วยให้มนุษย์เรามีสุขภาพจิตที่ดี (Positively affected your mental health) ว่าเป้าหมายที่ต้องการทำในแต่ละวันนั้น สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีนั่นเองค่ะ

3). สร้างสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้ม (Build a strong community)
อีกหนึ่งทักษะสำคัญ (Important skill) ที่ต้องมีไว้รับมือ (To cope) กับเรื่องที่ว่า “ทุกคนมีสิทธิที่จะล้มได้ในทุกเมื่อ แต่ก็ต้องเรียนรู้ที่จะฝึกตนเองให้
พร้อมที่จะลุกขึ้นให้ไว และพร้อมที่จะก้าวเดินต่อไปให้ได้อย่างมั่นคงและแข็งแกร่งกว่าเดิม (Resilience)” ก็คือการสร้างสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นนั่นเองค่ะ คุณผู้อ่านโดยการสร้างเครือข่ายมิตรแท้ (Build a strong support network of people) ที่เราไว้วางใจ ที่สามารถแชร์และขอคำปรึกษาในเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเราได้อย่างสบายใจ (In a safe space) รวมทั้งสามารถแบ่งปันมุมมองต่างๆ (Get advice from others with different perspectives) ทั้งที่เห็นต่าง หรือเห็นพ้องต้องกันนั่นเองค่ะ อย่างน้อยก็ช่วยให้เรามีมุมมองที่กว้างขึ้น และรับรู้ได้ว่าว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้ (You are not alone) ค่ะ
4). ฝึกปรึกษา พูดคุยกับตนเองให้เสมือนเพื่อนที่ไว้วางใจ (Talk to yourself like a friend)
ธรรมชาติของมนุษย์มักจะชอบทำตัวเป็นที่ปรึกษา และพร้อมให้คำปรึกษากับปัญหาด้านอารมณ์ ความรู้สึก ให้กับคนอื่นๆ อยู่เสมอ (People are much better at giving advice to others about emotional issues than to themselves) แต่กับตัวเอง เมื่อถึงคราวที่มีปัญหามาเยือนถึงหน้าบ้าน กลับไม่ปรึกษาตัวเอง แต่ไปปรึกษาผู้อื่นซะงั้นค่ะคุณผู้อ่าน
ดังนั้นอีกหนึ่งทักษะที่จะใช้รับมือกับสถานการณ์ หรือวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายที่ผ่านเข้ามาในช่วงหนึ่งของชีวิตคุณก็คือ การที่ตัวคุณเอง ฝึกที่จะพูดคุยกับตนเอง โดยการตั้งคำถามถึงเรื่องราวของปัญหา อุปสรรค ความยากลำบากที่คุณกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ว่า คุณจะให้คำตอบและให้คำปรึกษากับตัวของคุณเองว่าอย่างไรกันบ้างค่ะ
ทำเสมือนว่า (As though) คุณกำลังให้คำปรึกษาที่ดีกับผู้อื่นอยู่ (You are speaking to another person) นั่นเองค่ะ
คุณผู้อ่านล่ะคะ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการฝึกทักษะการรับมือเพื่อเตรียม
ความพร้อมหากเกิดวิกฤตการณ์ หรือ สถานการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ตัวเรามีอัน
ต้องล้ม หรือ สะดุด เป็นประการใดกันบ้างคะ
แหล่งที่มา edition.cnn.com
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!